การออกแบบระบบสร้างความดันบวกต้นทุนต่ำ เพื่อลดการติดเชื้อในห้อง ผ่าตัดขนาดเล็กที่ใช้ระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน

ผู้แต่ง

  • สาธิต นฤภัย กองวิศวกรรมการแพทย์กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

คำสำคัญ:

การออกแบบ, ความดันบวก, ต้นทุนต่ำ, การติดเชื้อ, ห้องผ่าตัดขนาดเล็ก, ระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน

บทคัดย่อ

การศึกษาออกแบบระบบสร้างความดันบวกต้นทุนต่ำ เพื่อลดการติดเชื้อในห้องผ่าตัดขนาดเล็กที่ใช้ระบบปรับอากาศแบบแยกส่วนในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติ ( Action Research ) โดยการออกแบบและปรับปรุงห้องผ่าตัดเดิมของโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กให้มีมาตรฐานเพิ่มขึ้น จากการศึกษาพบว่าสภาพปัญหาของห้องผ่าตัดของโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก ที่ในปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน ส่วนใหญ่มีเหตุผลมาจากการที่ไม่มีแพทย์หรือพยาบาลดมยาสลบ แต่เหตุผลที่ผู้วิจัยได้ศึกษาพบว่าส่วนใหญ่ห้องผ่าตัดไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น การใช้เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ความดันภายในห้องเป็นความดันลบ ฝุ่นละอองและปริมาณอนุภาคสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน และมีอากาศเสียตกค้างภายในห้องจำนวนมาก 

วิธีการศึกษาวิจัย โดยเริ่มจากการสำรวจสภาพปัญหา แล้วนำปัญหาต่างๆมาทำศึกษาเพื่อการแก้ไข จากนั้นจึงทำการออกแบบระบบต่างๆที่เป็นปัจจัยสำคัญของห้องผ่าตัดเพื่อให้มีความดันภายในห้องเป็นบวก มีอัตราการไหลเวียนอากาศที่เหมาะสม ลดปริมาณฝุ่นและปริมาณอนุภาค เช่น การปรับปรุงโครงสร้างภายในห้องให้เรียบที่สุดไม่ให้มีมุมหรือเหลี่ยมต่างๆ ที่เป็นที่สะสมของฝุ่นละออง ปรับปรุงประตูของห้องผ่าตัดไม่ให้มีรอยรั่ว ปรับปรุงฝ้าเพดานให้เป็นแบบฉาบเรียบ หลอดแสงสว่างต่างให้อยู่ภายในฝ้าเสมอกับฝ้าเพดาน ติดตั้งระบบเติมอากาศบริสุทธิ์เข้าไปในห้อง โดยให้อากาศป้อนเข้าไปยังคอยล์เย็นของเครื่องปรับอากาศโดยตรงเพื่อลดอุณหภูมิและลดความชื้นสัมพัทธ์เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศให้มีขนาดที่ใหญ่เพื่อเหมาะสมกับระบบเติมอากาศและพัดลมระบายอากาศ           

ผลจากการออกแบบและทำการปรับปรุงความดันภายในห้อง ( Pa ) จากเดิม -4.5 เป็น +5.8 , ค่าอัตราการไหลเวียนของอากาศจากไม่มีเป็น 15 ACH , อุณหภูมิ จากเดิม 27°C-31°C เป็น 23°C-27°C , ความชื้นสัมพัทธ์ จากเดิม 71 %HR ลดลงเป็น 61 %HR, ปริมาณฝุ่นและปริมาณอนุภาคลดลง , CO2 จาก 1,241 ppm. ลดลงเหลือเพียง 300 ppm. ซึ่งโดยภาพรวมห้องผ่าตัดที่ได้ทำการปรับปรุงมีค่าต่างๆอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ สิ่งที่ต้องปรับปรุงต่อไปคือเรื่องของเสียงที่ดังเพิ่มขึ้น เนื่องจากเสียงของระบบเติมอากาศ และเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยแนวทางแก้ไขคือย้ายระบบเติมอากาศให้ไกลจากห้องผ่าตัดมากขึ้น เลือกเครื่องปรับอากาศที่มีความดังของเสียงน้อยลง

เอกสารอ้างอิง

Bamrasnaradura Institute Department of Disaster Prevention and Mitigation Ministry of Public Health. Manual for Prevention and Control Infection in the hospital. Printing Agriculture Cooperatives of Thailand. 2013

Nicholas Piyasutthawong and colleagues. New surgical approach to reduce contamination in surgery to reduce infection rates surgical wound. Department of Nursing Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. Rama Nurse J.January - April 2010

JariyaSangsajja. Indoor Air Quality Improvement Manual. The National Buddhist Printing Office. September 2007

Faculty of Engineering. Air Conditioning and Ventilation Systems. Engineering Institute of Thailand under the Royal Patronage.

Mr. SupotTeechamunthorn. Resolving fungal problem in air conditioning system.

ENGINEERING SPECIALIZE CO., LTD. Article 16Air Conditioning Engineering Association of Thailand

Guidelines for the development of the operating room. Office of the Ministry of Public Health. December 2006

PrapapornThongthong. Infection control in the operating room.KhonKaen Medical Journal. 12th year. No. 4 October - December 1988

CVT Surgery Surgery (2009). Environmental guidelines in operating room 2009. Retrieved on December 29, From http://perioperativenursecvt.blogspot.com/2009/12/blog-ost.html

Subcommittee on Air Conditioning and Ventilation Air Conditioning and Ventilation Systems. Engineering Institute of Thailand under the Royal Patronage 2004

Voravich Singh. Adjustment and ventilation for the operating room. Retrieved on December 24, From http://www.airbornefilter.com/PrapapornThongthong. Infection control in the operating room.Surgery KhonKaen Hospital CenterKhonKaen Medical Journal, Vol. 12 No. 4 October - December 1988.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-04-22

วิธีการอ้างอิง