ผลการทำสมาธิบำบัดผู้ป่วยรอผ่าตัด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ผู้แต่ง

  • โสภี วนธารกุล โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • อุสรา เซี่ยงฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • ศศิญดา จันทน์ธวัช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • ณัฐฐาพร นางแล โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • พัชนี ศรีโชคสิทธิกุล โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

คำสำคัญ:

ระดับความดันโลหิต, ผู้ป่วยผ่าตัด, สมาธิบำบัด SKT

บทคัดย่อ

ขั้นตอนการผ่าตัดสามารถทำให้เกิดความกลัวความวิตกกังวลและนอนไม่หลับในผู้ป่วย ช่วงเวลาก่อนผ่าตัดเป็นช่วงเวลาที่เครียดที่สุดสำหรับผู้ป่วยซึ่งอาจนำไปสู่การกำหนดเวลาการผ่าตัดใหม่ได้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาการทำสมาธิกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นการลดความเครียดของผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัด การทำสมาธิ สามารถช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจอัตราการหายใจและความดันโลหิต เพื่อเปรียบเทียบความดันโลหิตระหว่างผู้ป่วยก่อนผ่าตัดที่ได้รับการพยาบาลตามปกติเพียงอย่างเดียวและได้รับการพยาบาลตามปกติและฝึกสมาธิ ประเภทการศึกษาแบบ Interrupted time series ศึกษาผู้ป่วยรอผ่าตัด ห้องรอผ่าตัดโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ในช่วงเวลาทำการ กลุ่มแรก (กลุ่มควบคุม) ได้รับการพยาบาลตามปกติโดยเจ้าหน้าที่พยาบาล 771 คน เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเวลาเดือน มกราคม - มีนาคม 2560 กลุ่มที่สอง (กลุ่มทดลอง) ได้รับการพยาบาลตามปกติและฝึกสมาธิ 772 คน เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเวลาเดือน เมษายน – มิถุนายน 2560 บันทึกสัญญาณชีพแรกรับและ 20 นาที หลังจากนั้น วิเคราะห์ทางสถิติ t-test rank sum test และการถดถอยแบบ Gaussian พบว่า เพศ อายุและจำนวน วันที่นอนโรงพยาบาล และระยะห่างของการวัดสัญญาณชีพทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน กลุ่มควบคุมมีแนวโน้มที่จะมีระดับการศึกษาต่ำกว่าและมีประวัติผ่าตัดน้อยกว่า กลุ่มควบคุมยังเข้ารับการผ่าตัดศัลยกรรมทั่วไปและศัลยกรรมกระดูกมากกว่ากลุ่มทดลอง และมีโรคประจำตัวมากกว่า เมื่อสิ้นสุดการศึกษากลุ่มที่ทดลองมีความดันโลหิตค่า Sytolic ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม (8.9 ± 12.9 mmHg และ 6.9 ± 14.6 mmHg, p-value < 0.001) ดังนั้นการทำสมาธิในผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดสามารถลดความดันโลหิตได้และควรใช้ในผู้ป่วยทุกรายที่มีประวัติความดันโลหิตสูง

เอกสารอ้างอิง

Chomchuen Somprasert. (1982). The effect of Buddhist Meditation on the Level of Anxiety. Master of Science (Clinical Psychology). Bangkok: Graduate Studies, MahidolUniversity.

Pongpan Aroonsang. (2008). Nursing care for coronary artery disease. Khon Kaen: Faculty of Nursing, Khon Kaen University.

Thitisuda Somwatee, LinchongPothiban&Parade eNanasilp.(2011). Effect of Thai Qigong meditation exercise on blood pressure of the elderly withhypertension. Nursing Journal, 38(4): 81-92.

Somporn Kantaradusdi-Triamchaisri. (2007). Meditation for Health Healing. Bangkok: Faculty of Public Health, Mahidol University.

MedtitationHealing. (2017). Meditation Therapy. Retrieved from http//www.hypnosishappy.com.

Pongpan Kirdpitak. (1991). “Counseling Skill”: Relaxation and Reduce Anxiety Systematically. “Basic Counseling Technique” .Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.

Chatchawan Panyapayatjati. ( 2014). Emotion: Pathogen Factors Should not be Overlooked. Retrieved fromhttp://www.thaihealth.or.th.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-04-22

วิธีการอ้างอิง