การพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • กุสุมา สุวรรณบูรณ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบดูแล, การดูแลผู้ป่วย, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในจังหวัดชุมพร จะได้รับการดูแลร่วมกับทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาล แต่เมื่อจำหน่ายผู้ป่วยสู่บ้าน มักเกิดปัญหาเนื่องจากผู้ป่วยบางครอบครัวไม่มีใครดูแลต่อทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลฟื้นฟูล่าช้าและอาการทรุดได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน จังหวัดชุมพร เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (cross sectional descriptive research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากร จำนวน 247 คน เครือข่ายท้องถิ่น จำนวน 203 คน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 94 คน และผู้ดูแล จำนวน 94 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามบุคลากร (alpha0.89) แบบสอบถามเครือข่าย (alpha0.84) แบบประเมินความสามารถ Barthel index of activities daily living (ADL) (alpha0.85) แบบประเมินศักยภาพผู้ดูแล (alpha0.91) และแบบวัดคุณภาพชีวิต (alpha0.94) โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ chi-square test

ผลการศึกษาพบว่า หลังพัฒนามีคุณภาพการบริการเยี่ยมบ้านดีขึ้นกว่าก่อนพัฒนาโดยมีข้อมูลประชากรผู้ป่วย ประเมินปัญหาผู้ป่วยและให้การดูแล มีระบบส่งต่อ บันทึกรายงาน และตารางปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของเครือข่ายท้องถิ่นโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 85.7 (mean=50.94; SD=10.45) ความสามารถในกิจวัตรผู้ป่วย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.1 (mean=48.03; SD=33.41) คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.2 (mean=8.81, SD=1.50) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ ลักษณะการอยู่อาศัย ด้านความสามารถในกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การรับประทานอาหาร การลุกนั่ง การล้างหน้า แปรงฟัน การเข้าห้องน้ำ การอาบน้ำ การเคลื่อนที่ภายในบ้าน การขึ้นลงบันได การใส่เสื้อผ้า การกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ ศักยภาพการทำงานของผู้ดูแลโดยรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 84.0 (mean=45.48;SD=15.88) คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 81.9 (mean=6.63; SD=1.02) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ศักยภาพโดยรวม ประเภทผู้ดูแล การจัดการรถนำส่ง การฝึกอบรม รายได้ และคุณภาพการจัดการโดยรวม สรุป หลังการพัฒนามีคุณภาพการบริการดีขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา ความสามารถในกิจวัตรประจำวันผู้ป่วยดีขึ้นทำให้มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. (2015). The global burden of disease. [cited 2017 November 1] from: http//www.who.int

Jauch. (2013). Guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke: A Guidelines for healthcare professionals from the American Hart Association/ American Stroke Association. Stroke; 44: 870-947.

Daniel WW. (1995). Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. 6th ed. Singapore: John Wiley & Sons.

The Neurological Society of Thailand. (2011). Clinical practice guideline for stroke rehabilitation. 2thed. Bangkok: Thanapress. (in Thai).

Mahatnirunkul, Suwat. (1997). Compare the quality of life measurement of the WHO every 100 indicators and 26 indicators. Chiang Mai: Suanprung Psychiatric Hospital. (in Thai).

Mookyae, U. (2015). The Study of Home-based Care with Thai Traditional Medicine for Paralysis Patients in Noen-porSubdistrict community, Samngam District, Phichit Province. Master Thesis in Thai Traditional Medicine, Chiang Rai Rajabhat University. North 15th Rajabhat University: 213-23. (in Thai).

Stineman MG, Xie D, Kurichi JE, Kwong PL, Vogel WB, Ripley DC. (2014). Comprehensive versus consultative rehabilitation services post acute stroke: Outcomes differ. JRRD 51(7): 1143–54.

Kamalakannan S, Venkata MG, Audrey Prost, Natarajan S, Pant H, Chitalurri N, Goenka S, Kuper H. (2016). Rehabilitation needs of stroke survivors after discharge from hospital in india. ACRM journal homepage; 97: 1526-32.

Aiadsuy, N, Wongvatunyu, S, Chaiviboontham, S. (2013). Stress and Coping among Family Caregivers of the Patients with Brain Tumor awaiting for Cranial Surgery. Rama Nurs J; 19(3): 349-364. (in Thai).

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-10

วิธีการอ้างอิง