การศึกษาปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมของผู้ให้บริการในสถานประกอบการ เพื่อสุขภาพ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการเพื่อรองรับ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ผู้แต่ง

  • ชฎาภรณ์ นฤภัย กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเสี่ยง, ความเสี่ยงจากการให้บริการ, ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิด ความเสี่ยง, ผู้ให้บริการ, สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้ให้บริการ ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมของผู้ให้บริการที่มีผลต่อสุขภาพในการให้บริการ ในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ และเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดรูปแบบพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดี ให้กับผู้ให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ในการลดปัจจัยเสี่ยงในการให้บริการ ทั้งปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก ซึ่งปัจจัยภายในประกอบด้วย ปัจจัยพื้นฐานทั่วไป อันได้แก่ อายุ เพศ สภาพสมรส ระดับการศึกษา ลักษณะครอบครัว ตลอดจนค่าตอบแทนที่ได้รับ ปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การดูแลสุขภาพ การตรวจร่างกาย และ อนามัยส่วนบุคคล ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ มาตรการทางสังคม กฎระเบียบของพื้นที่ตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบสาธารณูปโภค สภาพแวดล้อมรอบๆ ที่ตั้งตลอดจน ความเสี่ยงต่างๆ จากภายนอก โดยวิธีการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถามของผู้ให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ

ด้วยการสุ่มตัวอย่างที่ไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-Probability Random sampling) ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จำนวน 150 คน ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือวิจัยโดยกำหนดแนวคิดตามหลักวิชาการที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้า และนำไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของงานวิจัยนี้ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยรังสิต และวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และได้ทำการทดสอบเครื่องมือ (Tryout) นำผลที่ได้มาปรับปรุง และนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงด้านพฤติกรรมในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 35 คน นำแบบสอบถามที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficient Alpha) ตามการวิเคราะห์ของครอนบาช (Cronbach) ตรวจสอบได้ 0.876 ซึ่งอยู่ในระดับดี คือมีค่าความเชื่อมั่นมากกว่า 0.8 ขึ้นไปตามทฤษฎี แสดงผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์สหพันธ์อัลฟา (α – Coefficient) ของครอนบาช (Cronbach) แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของสถานประกอบการและของผู้ให้บริการ จำนวน 11 ข้อ ส่วนที่ 2 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและอนามัยตนเอง จำนวน 24 ข้อ ส่วนที่ 3 พฤติกรรมต่อด้านสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ จำนวน 20 ข้อ ส่วนที่ 4 พฤติกรรมด้านการให้บริการ จำนวน 12 ข้อ ส่วนที่ 5 ปัจจัยภายนอกอื่น ๆ จำนวน 8 ข้อ

ผลการวิจัย พบว่าเมื่อมองในภาพรวมที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริการสุขภาพในแต่ละด้านทั้ง 5 ด้านของผู้ให้บริการเป็นดังนี้ ปัจจัยพื้นฐานทั่วไป ผู้ให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ 92% เป็นผู้หญิง มีอายุระหว่าง 36-45 ปีถึง 67% เป็นโสดไม่แต่งงาน 40 % นับถือศาสนาพุทธสูงถึง 93% ส่วนใหญ่ มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สูงถึง 87% มีจำนวนผู้ให้บริการมากกว่า 10 คนถึง 72 % มีผู้มารับบริการในแต่ละวันไม่ต่ำกว่า 30 คนสูงถึง 50 % มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 10,000 – 20,000 บาท ปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า ผู้ให้บริการยังมีพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การไม่ออกกำลังกายตามข้อกำหนด การกินอาหารที่มีไขมันสูง อาหารทอด หรือมีส่วนผสมของกะทิ พฤติกรรมการตรวจร่างกายประจำปีน้อย พฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลทำได้ดี เช่น การล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารการล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังการใช้ส้วม การสระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง การสวมเสื้อผ้าที่สะอาดไม่อับชื้น และการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ส่วนปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พฤติกรรมการจัดการกับสิ่งแวดล้อมและการจัดการด้านความเสี่ยงและอันตรายอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านพฤติกรรมการให้บริการอยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านปัจจัยภายนอกยังไม่ดี เนื่องจากสถานที่ตั้งและตัวอาคารไม่เหมาะสม

ข้อเสนอแนะ นำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานหรือรูปแบบในการป้องกันความเสี่ยงด้านการให้บริการ โดยเฉพาะเพื่อใช้เป็นข้อกำหนดในการรับผู้ให้บริการข้ามชาติในประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในปลายปี 2560 กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ควรใช้ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติ เพื่อพัฒนาหรือออกข้อกำหนด เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และมีความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นในการให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพต่อไป

เอกสารอ้างอิง

Karunamphan, Mongkol. (2012). Health behavior and health status of urban workers a case study of Sathorn area. Bangkok : Prince of Songkla University Nursing Vol. 32 No. 3 September - December 2012.(in Thai)

Suramitmitri, Benjamas and colleagues. (2012). Health Behavior Modification. Ministry of Public Health. (in Thai)

Uthai Pattanavee, Vimol Sri and colleagues. (2013). Changing of health behavior : Department of Health Service Support. Ministry of Public Health. (in Thai).

Trinkai, Areewan and colleagues.(2013). International Health Organization Bureau of Nursing and Community Health Services : Department of Health Services Ministry of Public Health. (in Thai).

Department of Health Service Support, Health Education Division. (2015). Guidelines for enhancing health knowledge and developing healthy behaviors : Community Publishing House of Agricultural Cooperatives of Thailand. (in Thai).

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-10

วิธีการอ้างอิง