ผลของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี ที่มีพัฒนาการสมวัย ด้วยกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า ต่อความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างเด็กและผู้เลี้ยงดูหลัก จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อัมรา ธำรงทรัพย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
  • ผุสดี กุลสุวรรณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
  • รัตนา ศิวิสาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความผูกพันทางอารมณ์, เด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี, กิน กอด เล่น เล่า

บทคัดย่อ

ความผูกพันทางอารมณ์ ระหว่างผู้ดูแลและเด็กเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก โดยพบว่า ระดับสติปัญญา และความสามารถในการอยู่ในสังคม มีความสัมพันธ์กับความผูกพันทางอารมณ์ที่มั่นคงระหว่างมารดากับเด็ก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี ที่มีพัฒนาการสมวัยด้วยกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่าทีมีต่อความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างเด็กและผู้เลี้ยงดูหลักที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงงาม อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุแรกเกิด – 5 ปี และผู้เลี้ยงดูหลักที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 36 คู่ เด็ก – ผู้เลี้ยงดูหลัก โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 18 คู่ กลุ่มควบคุม 18 คู่ โดยที่กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า ส่งเสริมความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างเด็กและผู้เลี้ยงดูหลัก จำนวน 3 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที แต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ รวม 5 กิจกรรม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลด้วยรูปแบบที่มีอยู่เดิม โดยประเมินซ้ำ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อจบโปรแกรมภายใน 2 สัปดาห์ และครั้งที่ 2 หลังจากจบโปรแกรมแล้ว 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Independent t-test

ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 3 เดือน พบว่า กลุ่มทดลองมีระดับความผูกพันทางอารมณ์ สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05 ) จากผลการศึกษาครั้งนี้ใช้ให้เห็นว่าผู้เกี่ยวข้องควรนำกิจกรรม กินกอด เล่น เล่าไปดำเนินการเพื่อเสริมสร้างความผูกพันทางอารมณ์ในกลุ่มเด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี และผู้เลี้ยงดูหลักขยายผลสู่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเลี้ยงดูเด็ก เช่น สมาชิกทุกคนในครอบครัว ครู และชุมชนทุกตำบล

เอกสารอ้างอิง

Ellen Moss, K D Comtois, C Cyr, G M Torabolsy, D St Laurent, et al. (2011). Efficacy of a home-visiting intervention aimed at improving maternal sensitivity, child attachment and behavioral outcome for maltreated children : A randomized control trial . Dev Psychopatol. 23, pp. 195- 210.

Greenberg M. T., Speltz M. L., Deklyen M., Endriga M.G. (1991). Attachment security in preschool with and without externalizing behavior problem : A replication. Development and Psychopathology, 3, pp. 413-30.

Jantien V Z, Judi M, Marinus H, Van I J, marian J, et al. (2006). Attachment based intervention for enhancing sensitive discipline in mother 1-3 year olds children at risk for externalizing behavior problem: A Randomized Controlled trial. J Consult Clin Psychol.74(6), pp. 994-1005.

Katara K. W., Brittany L. M., Kathryn A. K. (2013). Mother –child attachment and cognitive performance in middle childhood: An examination of mediating mechanism. Early Childhood Research Quarterly. 28, pp. 259-70.

Patric I E, Lia C H Fernald, H Alderman et al. (2011). Strategies for reducing inequalities and improvingdevelopmental outcomes for young children in low-income and middle income countries. Lancet. 378 (Oct.), pp.1339-53.

Sirimas Kaewcharoenwong. (1998) State and problems in ordanizing language development enhancement activities foryoung children in private day care centers,The orthern region. Master Education (Early Childhood Educaion), Chulalongkorn Univercity.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-10

วิธีการอ้างอิง