การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในภาวะคุกคามชีวิต กรณีศึกษา โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • สริยา ทวีกุล โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

คำสำคัญ:

ระบบบริการพยาบาล, ผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนน, ภาวะคุกคามชีวิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงประยุกต์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจำแนกประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในภาวะคุกคามชีวิต 2) ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในภาวะคุกคามชีวิต โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยการสังเคราะห์ข้อมูลประชากรจากเวชระเบียนข้อมูลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ศึกษาเฉพาะข้อมูลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในภาวะคุกคามชีวิตจำนวน 123 ฉบับ ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีระบบ และใช้รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการพัฒนาระบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบบันทึกข้อมูลตามแนวการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนภาวะคุกคามชีวิตและแบบบันทึกการติดตามประเมินผลที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล การปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนและการติดตามประเมินผลการดูแลผู้ป่วย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้การแจกแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ จากนั้นทำการศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพยาบาลเพื่อช่วยเหลือเบื้องต้น ในการพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในภาวะคุกคามชีวิต โดยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มจากผู้แสดงทางสังคมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการสังเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่าในเวชระเบียน 123 ฉบับ เป็นข้อมูลเพศชาย ร้อยละ 69.92 เพศหญิง ร้อยละ 30.08 เป็นผู้ป่วยประเภท Resuscitate ร้อยละ 8.94, Emergency ร้อยละ 43.09, Urgent ร้อยละ 47.97 โดยร้อยละ 81.30 มีระยะเวลาในการนอนรักษาตัว 1-7 วัน หลังรับไว้นอนมีสถานะภาพจำหน่าย ร้อยละ 82.10%, เสียชีวิตร้อยละ 9.76 พยาบาลร้อยละ 94.31 ปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในภาวะคุกคามชีวิต ครบถ้วนและ ดำเนินการสนทนากลุ่มตลอดจนสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้ได้รูปแบบ/แนวทาง การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในภาวะคุกคามชีวิต จากผลการประเมินรูปแบบพบว่าร้อยละ 100 เห็นด้วยกับการพัฒนาระบบบริการพยาบาล ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบบริการพยาบาลในภาวะคุกคามชีวิตโดยเฉพาะผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในจังหวัดเชียงรายต่อไป

ข้อเสนอแนะระบบบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุทางถนนในภาวะคุกคามชีวิตควรมีการปรับระบบบริการพยาบาลตั้งแต่การดูแลก่อนถึงโรงพยาบาล การดูแลในโรงพยาบาล และการดูแลต่อเนื่องหลังการจำหน่าย ในประเด็นการบริหาร การบริการ และระบบการพยาบาล

เอกสารอ้างอิง

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2555). 10 อันดับการตาย, กระทรวงสาธารณสุข.

Dries,D.J.(2006) Initial evaluation of the trauma patient. Retrieved August 14,2006,from http://www.emedicine.com/

โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์.(2559).รายงานประจำปี 2559. มปท. เชียงราย.

Wrathall, G. , Sinclair, R. .(2006) The Management of Major trauma. Retrived Jule 25: 2006. From http:// www.fsm.ac.fj /sm/anaesthesia/WFSA/html/u06/006-003.htm

Soukup, S. M. (2000) The center for advanced nursing practice evidence-based practice model. The Nursing Clinics of North America: 2000. 35(2), 301-309.

กรองได อุณหสูต และ คณะ (2554). คู่มือการปฏิบัติงานพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุ หน่วยงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน . กรุงเทพฯ: ก้องการพิมพ์.

Veena Chatrath, Ranjana Khetarpal, Jogesh Ahuja J Anaesthesiol Clin Pharmacol. (2015) Fluid management in patients with trauma: Restrictive versus liberal approach. 2015 Jul-Sep; 31(3): 308–316

Wrathall, G. , Sinclair, R. (2006) The Management of Major trauma. Retrived Jule 25: 2006. From http://www.fsm.ac.fj /sm/anaesthesia/WFSA/html/u06/006-003.htm

Buck A, Maini A. (2013) Trauma reception and resuscitation. In: Buck A, Maini A. editors. Emergency Trauma Management Course Manual. Version 1.2. iBook. pdf version. p 21

Muhlberg, A. H., Ruth-Sahd, L (2004) Holistic Care: Dimensions of Critical Care Nursing, 33(2), 55-59.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-10

วิธีการอ้างอิง