การศึกษารูปแบบนโยบายการดำเนินงานคลินิกเวชศาสตร์การเดินทาง และท่องเที่ยวของกรมควบคุมโรค ในจังหวัดเขตเศรษฐกิจพิเศษ กรณีศึกษา: ศูนย์หาดใหญ่นวรัตน์ จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
รูปแบบนโยบาย, การดำเนินงาน, กรมควบคุมโรค, เขตเศรษฐกิจพิเศษ, ศูนย์หาดใหญ่นวรัตน์, จังหวัดสงขลา, คลินิกเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ผลการดำเนินงานตามนโยบาย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จและไม่สำเร็จ รวมทั้งแนวทางและทิศทางการดำเนินงานของคลินิกเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว ในจังหวัดเขตเศรษฐกิจพิเศษ ของศูนย์หาดใหญ่นวรัตน์ จังหวัดสงขลา ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ในอนาคตเป็นการวิจัยนโยบายสาธารณสุข (Health Policy Research) แบบกรณีศึกษา (Case study) ใช้เทคนิคการวิเคราะห์โดยใช้กรอบกระบวนการนโยบายหรือวงจรนโยบาย (Policy Cycle) ศึกษาเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งในอดีตและปัจจุบันของกรมควบคุมโรค และหน่วยงานการแพทย์และสาธารณสุขที่คลินิกฯ ตั้งอยู่ จำนวนรวมทั้งสิ้น 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยเอกสารแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กรอบแนวคิดประเทศไทย 4.0 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 และ 12 แผนพัฒนาการสาธารณสุขและแผนการป้องกันควบคุมโรคในส่วนที่เกี่ยวข้องช่วงปี พ.ศ.2559-2561 เอกสารวิเคราะห์สถานการณ์วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ แนวคิด ทฤษฎีระบบ การวิเคราะห์วงจรนโยบาย การกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ การบริหารจัดการ แนวทางและผลการบริหารจัดการในการนำนโยบายไปปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์ (In–depth Interview) เอกสารรายงานการประเมินผลการดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินการพัฒนาคลินิกเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวที่กรมควบคุมโรคกำหนด ผลการศึกษารูปแบบการกำหนดนโยบายเป็นรูปแบบการปรับปรุงเพิ่มเติมที่เน้นกิจกรรมในองค์กร (Activity or Action) มีการกำหนดวัตถุประสงค์ แนวทาง และกลไกการนำนโยบายไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และมีลักษณะในการพัฒนานโยบายให้ดีขึ้น (Higher stage) สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ตามกรอบแนวคิดประเทศไทย 4.0 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 และ 12 แผนพัฒนาการสาธารณสุข และแผนการป้องกันควบคุมโรค ในส่วนที่เกี่ยวข้องในช่วงปีพ.ศ.2559–2561 รูปแบบการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติเป็นรูปแบบที่ยึดหลักเหตุผลมีขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมมุ่งสู่เป้าหมายความสำเร็จตามเป้าหมาย ด้านผลการดำเนินงานตามนโยบายปีงบประมาณ พ.ศ.2560 สามารถดำเนินการผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในทุกองค์ประกอบหลัก ยกเว้นองค์ประกอบหลักที่ 2 ในองค์ประกอบย่อยที่ 2.5 ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ปัจจัยความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ เนื่องจากนโยบายสอดคล้องกับวัตถุประสงค์มีความชัดเจน เข้าใจง่ายในการนำไปปฏิบัติ สำหรับปัจจัยที่มีผลทำให้การนำนโยบายไปปฏิบัติไม่ประสบผลสำเร็จ คือ การประสานงานและสนับสนุนงานวิชาการระหว่างหน่วยงานระดับกรมที่รับผิดชอบงานในเรื่องนี้ยังมีน้อย โครงสร้างองค์กรภายในยังไม่เหมาะสม และทีมบุคลากรยังขาดองค์ความรู้ในทางปฏิบัติ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ ควรพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเวชศาสตร์การเดินทางอย่างต่อเนื่อง มีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเดินทาง และโครงสร้างควรอยู่ภายใต้งานบริการประชากรกลุ่มพิเศษ กลไกการทำงานของคลินิกควรมีการแยกนักท่องเที่ยวเป็นกลุ่มประเทศ
เอกสารอ้างอิง
Department of Disease Control. (2016). Upgraded security and excellence plan of disease control of Thailand B.E. 2560-2564. Retrieved November 20, 2017, from http://www.ddccenter.ddcmoph.go.th/infoc/documment/php.
Nakhata, T. (1988). Policy formulation in the present political system. Journal of Social Science, 25(2), 109-133.
Roobkhamdee, W. (1999). Policy and Planning. Document for teaching fundamental social policy and planning Subject. National Institute of Development Administration.
Travel Medicine Group, Bureau of General Communicable Disease. (2016). Guideline of operation in travel medicine clinic, Department of Disease Control.
Yawaprapas, S. (2005). Public theory. Bangkok: Chulalongkorn university press.
Lindblom, Charles E. (1968). The Policy-Making Process. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Department of Health Service Support-วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.