การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกแรกเกิดปากแหว่งเพดานโหว่ โดยไม่ใส่เพดานเทียมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง : รายงานผู้ป่วย
คำสำคัญ:
ทารกปากแหว่งเพดานโหว, เพดานเทียม, นมแม, นมขวดบทคัดย่อ
ทารกปากแหว่งเพดานโหว่พบอัตราการเกิด 1.11-1.67 : 1000 ของทารกแรกเกิดมีชีพในประเทศไทย จังหวัดร้อยเอ็ดพบ 1.42 : 1000 โดยพบ 31 ราย ในทารกแรกเกิดมีชีพ 21,758 ราย ที่คลอดในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ในช่วง 1 ต.ค.2546 - 30 ก.ย.2550 ปัญหาใหญ่ขณะแรกเกิดของผู้ปกครองคือการให้นมและการเลี้ยงดูเพื่อเข้ารับการผ่าตัดเย็บริมฝีปากให้ได้เร็วตามกำหนดเมื่ออายุ 3 เดือน แต่ต้องมีน้ำหนักโดยประมาณ 5 - 6 กิโลกรัม การให้นมแม่มีข้อดีมากมายซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทั้งทารกและผู้ปกครอง โดยทารกกลุ่มนี้สามารถได้รับนมแม่ได้เช่นเดียวกับทารกปกติเพียงแต่ต้องได้รับคำแนะนำการให้นมอย่างถูกวิธีทั้งการเตรียมจุกนมเป็นเครื่องหมายบวกและท่าให้นมศีรษะสูง การเลี้ยงดูทารกปากแหว่งเพดานโหว่ ด้วยการให้ทานนมแม่โดยไม่ได้ใส่เพดานเทียมทำให้ลด ความยุ่งยากและความกังวลลงได้มากจึงมีประโยชน์มากและวิธีการให้นมขวดแบบสบตากันและให้นมแม่โดยใช้หมอนสามเหลี่ยมที่มีใช้ในครัวเรือนตามปกติสามารถทำได้ง่ายและสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งทำให้สามารถสร้างความมั่นใจ ลดความกังวลและค่าใช้จ่ายของบิดามารดาและรัฐได้มาก ดังนั้นจึงควรพิจารณาใส่เพดานเทียมในรายที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งพิจารณาได้จากลักษณะและความกว้างของช่องโหว่รวมทั้งการสำลักขณะให้นมและผลจากการใช้วิธีดังกล่าวสามารถทำให้ผู้ป่วยรายนี้มีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์จนเข้ารับการผ่าตัดได้ตามแนวทางที่กำหนดและไม่มีปัญหาการสำลักขณะให้นม
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิทันตกรรมจัดฟันแห่งประเทศไทยร่วมกับคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปากแหว่งเพดานโหว่. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร; 2546: 1-20
ถวัลย์วงศ์ รัตนสิริ ,นพัสร จันทธำรงวัฒน์, สมนึก อภินันทนกุล, จำรัส วงศ์คำ, บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น. อุบัติเหตุของการคลอดทารกที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ พ.ศ.2533-2542. ศรีนครินทร์เวชสาร 2544; 16(1)
Chuangsuwanich A, Aojanepong C, Muangsombut S, TongpiewP.Epidimiology of cleft lip and palate in Thailand. Ann PlastSurg 1998; 41: 7-10.
เพ็ญพักตร์ เกริกมธุกร ผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. กุมารเวชสาร 2544
บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น.การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ : บทบาท/สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย การสนับสนุนโครงการ “ ยิ้มสวยเสียงใส ”. 2550
Derijcke A, Eerens A, Carels C. The incidence of oral cleft : a review. Br J Oral MaxillofacSurg 1996; 34: 488-94.
Gregg T. Boyd D. Kichardson A. The incidence of cleft lip and palate in Northern lreland from 1980-1990. Br J Orthod 1994; 27: 387-92.
นิรมล ลีลาอดิศร.อุบัติการณ์การเกิดและแนวทางการดูแลแบบองค์รวมในทารกปากแหว่งเพดานโหว่ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. ขอนแก่นเวชสาร. 2551; 32 (2)
K.godfrey, Sydney University and khonkaen University. Dental care and Treatment for cleft lip and Palate; 1994; 50-82
K. godfrey. Integrated care special problems. Physiological Dificiencies feeding. 1994; 1-8
Bianchi DW. Crombleholme TM,D’ Alton ME. Fetology; Diagnosis & management of the fetal patient. New York: McGraw-Hill, 2000: 198-207.
Murray JC, Daack-Hirsch S, Buetow KH, et al. Clinical and epidemiologic studies of cleft lip and palate in the Philippines. 10
กระทรวงสาธารณสุข,สภากาชาดไทย,สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ,สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย,สมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย,สมาคมโสตสัมผัสวิทยาและการแก้ไขการพูดแห่งประเทศไทยและคณะ. สมุดบันทึกโครงการ “ ยิ้มสวย เสียงใส ”. พิมพ์ครั้งที่ 3 (ปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์สำนักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2550
ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. พระกษีรธาราด้วยรักของแม่ แด่พระองค์ที. กรุงเทพฯ: ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย: 2549
ส่าหรี่ จิตตินันท์,วีระพงษ์ ฉัตรานนท์,ศิราภรณ์ สวัสดิวร.เลี้ยงลูกด้วยนมแม่: ความรู้......สู่ปฎิบัติ. กรุงเทพ: กรุงเพเวชสาร; 2546
ยุพยง แห่งเชาวนิจ,กรรณิการ์ วิจิตรสุคณธ์,ปิยาภรณ์ บวรกีรติขจร. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพฯ: วิสคอมเซนเตอร์; 2548
พรนภา ตั้งสุขสันต์.การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสตรีตั้งครรภ์. Journal of Public Health Nursing. 2011; 25(3)
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Department of Health Service Support-วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.