การศึกษาการเข้าถึงสิทธิการได้รับบริการคุณภาพชีวิตและการพัฒนาระบบบริการคนพิการทางการเคลื่อนไหวจังหวัดนครสวรรค์ ปีงบประมาณ 2559

ผู้แต่ง

  • เจิมจันทร์ เดชปั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์

คำสำคัญ:

คนพิการทางการเคลื่อนไหว, การเข้าถึงสิทธิการได้รับบริการ, คุณภาพชีวิต, การพัฒนาระบบการดูแล คนพิการ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเข้าถึงสิทธิตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 2) พัฒนาระบบการดูแลคนพิการโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ความพึงพอใจ และคุณภาพชีวิต ก่อนและหลังได้รับระบบการดูแลที่พัฒนา การวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาระบบการดูแลคนพิการ ระยะที่ 3 เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ คนพิการทางการเคลื่อนไหว 400 คน ผู้ให้บริการผู้ดูแล และสมาชิกครอบครัวคนพิการ 120 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่มและการสังเกตระยะเวลาการวิจัย พฤศจิกายน 2558 - กันยายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ paired t-test

ผลการศึกษา พบว่า คนพิการ เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.3 อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 46.5 จบชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 67.0 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 74.0 สถานภาพสมรส ร้อยละ 47.5 ประเภทความพิการอัมพาตครึ่งซีก/อัมพาตครึ่งท่อน ร้อยละ 42.8 สาเหตุเกิดจากโรค/ความเจ็บป่วยร้อยละ 54.3 ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ ร้อยละ 82.7 ไม่มีผู้ดูแล ร้อยละ 64.0 ผู้ดูแลเป็นสามี/ภรรยา ร้อยละ 32.3 มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ร้อยละ 62.0 และลักษณะที่อยู่อาศัยแข็งแรงถาวร ร้อยละ 59.3 การเข้าถึงสิทธิการได้รับบริการ พบว่า เข้าถึงสิทธิด้านเบี้ยยังชีพการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ และการสนับสนุนช่วยเหลือเป็นรายบุคคล คิดเป็นร้อยละ 92.30, 79.50, และ 68.00 ตามลำดับ คนพิการช่วยเหลือตนเองในการประกอบกิจวัตรประจำวันได้ ร้อยละ 59.40 พึงพอใจต่อบริการฟื้นฟูสมรรถภาพการทางการแพทย์อยู่ในระดับมาก (x = 60.90, SD = 9.59) มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง (x = 73.80, SD = 16.60) การพัฒนาระบบการดูแลคนพิการ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า กำหนดนโยบาย การทำงานแบบมีส่วนร่วม การเตรียมภาคีเพื่อให้เกิดความพร้อม มีข้อมูล และการสนับสนุนทรัพยากร 2) ด้านกระบวนการ สร้างเครือข่ายระบบการดูแลคนพิการต่อเนื่องที่ไร้รอยต่อ โดยครอบครัว ชุมชน ทีมสุขภาพเชิงรุกเชื่อมโยงกับระบบสนับสนุนในชุมชน การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ และเคารพในศักดิ์ศรีของคนพิการ 3) ด้านผลลัพธ์ พบว่า คนพิการมีคะแนนความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ความพึงพอใจ และคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ส่งผลให้คนพิการได้เติมเต็มความเป็นบุคคล สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพ ได้รับโอกาส ได้รับสิทธิที่พึงได้ และได้รับการยอมรับอย่างมีคุณค่า และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์รวมทั้งเป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้ชุมชนสามารถดูแลคนพิการได้

จากผลการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมสนับสนุนระบบการดูแลคนพิการโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเพื่อขยายผลให้ครอบคลุมคนพิการทุกประเภทและพื้นที่อื่นๆ และการศึกษาเพื่อประเมินผลความก้าวหน้าความยั่งยืนต่อไป

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจความพิการ พ.ศ.2550. ค้นเมื่อ 14 เมษายน 2558, จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/theme_2-5-4.html.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจความพิการ พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2557.

กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. เอกสารสรุปผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย งานสุขภาพจิตและยาเสพติด ปีงบประมาณ 2558. นครสวรรค์. เอกสารอัดสำเนา; 2558.

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์; 2556.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พุทธศักราช 2550. (2550, กันยายน 27) ราชกิจจานุเบกษา, 8-9.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2556 (2556, มีนาคม 20) ราชกิจจานุเบกษา, 6-12.

รัชนี สรรเสริญ และคณะ. การบูรณาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในสถานบริการปฐมภูมิ: บทเรียนรู้จากประเทศไทย. การพยาบาลและการศึกษา 3(2), 2553. หน้า 99-113.

องค์การอนามัยโลก. CBR Guideline ขององค์การอนามัยโลก ฉบับภาษาไทย (Community-Based Rehabilitation). กรุงเทพฯ: พรีเมี่ยนเอ็กซ์เพรส; 2556.

นริสา วงศ์พนารักษ์ และศิรินาถ ตงศิริ. การใช้แนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

อัญมณี บูรณากานนท์ และคณะ. โครงการศึกษาวิจัยการพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ออนอาร์ตครีเอชั่น; 2552.

WHO (2004). CBR A Strategy for Rehabilitation, Equalization of Opportunities, Poverty Reduction and Social Inclusion of People with Disabilities. Joint Position Paper 2004: 1-3.

Yamane, Taro. Statistic and Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row, Publishers, Inc.; 1973.

Cronbach.L.J. Eessentials Psychological Testing. (3rded.). New York: Harper & Collins.; 1990.

สุพงศ์ นิ่มกุลรัตน์. การใช้ SWOT วางแผนกลยุทธ์ในองค์กร. วารสารศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2550; 15(1): 81-86.

ปัทมา สุพรรณกุล. การวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยด้านสาธารณสุขด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิษณุโลก: โรงพิมพ์ตระกูลไทย; 2557.

พรธิดา วิเศษศิลปานนท์ และคณะ. การติดตามการเข้าถึงสิทธิของคนพิการและการพัฒนารูปแบบระบบสวัสดิการที่ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ. ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.

สุนารี หน่อไชย. บทบาทของสถาบันครอบครัวต่อการจัดสวัสดิการสำหรับคนพิการทางจิต. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์มหาบัณฑิต (การบริหารและนโยบายสังคม) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2547.

ศรีวัลลา ราชบุรุษ. การศึกษาความพึงพอใจในบริการประชาชนของฝ่ายทะเบียนสำนักบริการฝ่ายทะเบียน สำนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง สาขาแจ้ห่ม. ภาคนิพนธ์ ศศบ. (พัฒนาสังคม) พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2547.

ทรงยศ พิลาสันต์ และคณะ. ความพึงพอใจของคนพิการต่อบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการที่โรงพยาบาลของรัฐใน 8 จังหวัด. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข; 2558. 9: 369-381.

นิทินันท์ โคกคาน. การพึ่งตนเองของคนพิการทางกายในอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

ปกรณ์ วชิรัคกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของคนพิการในจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2541.

Maslow. A.H. Motivative and personality. (2 nd ed.) New York. Harper & Row; 1970.

ปราณี ประไพวัชรพันธ์. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในตำบลอรพิมพ์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา; 2551.

ชัชวาล ขจรอนันต์. การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวของสถานบริการเครือข่ายสุขภาพโรงพยาบาลหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์. ผลงานวิชาการดีเด่นระดับจังหวัดปี 2553. บุรีรัมย์: มปท.; 2553.

ธัญญพิชชา อาสินรัมย์. การดูแลและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการอย่างต่อเนื่องที่บ้านโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกสว่าง ตำบลหัวฝาย อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์. ผลงานวิชาการดีเด่นระดับเขตปี 2555. บุรีรัมย์: มปท.; 2555.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-10

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

บทความวิจัย