This is an outdated version published on 2019-09-20. Read the most recent version.

การปฏิรูปด้านบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด แนวทางที่เหมาะสมสำหรับกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • อัครพล คุรุศาสตรา สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

คำสำคัญ:

การปฏิรูป, การบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทบทวน ทบทวนเอกสาร กำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการปฏิรูป ด้านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด ของกระทรวงสาธารณสุข 2) ศึกษาความพร้อม การกระจายตัว การจัดบริการด้านบำบัด ฟื้นฟูของกระทรวงสาธารณสุข 3) ข้อเสนอเชิงนโยบายในการปฏิรูประบบบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข

การศึกษานี้มีวิธีการศึกษา ใช้วิธีค้นคว้า วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) ขั้นตอนการศึกษา ประกอบด้วย1)การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งภาคภาษาอังกฤษ และ ภาษาไทยในระดับนโยบาย ระดับโลกระดับประเทศ ที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว เช่น ประเทศโปรตุเกสสาธารณรัฐเช็กและเนเธอร์แลนด์ โดยผู้เชี่ยวชาญสหวิชาชีพ คัดเลือกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง ปี2559–2561จากเอกสารฯเพื่อหาข้อสรุป และ ข้อสังเกต 2) สังเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบการจัดระบบบริการสุขภาพ เพื่อพัฒนาปรับปรุงเสนอแนวทางที่เหมาะสม ในการปฏิรูป การบำบัดฟื้นฟูด้านยาเสพติดสำหรับกระทรวงสาธารณสุข

ผลการศึกษาพบว่า

1. สาเหตุของปัญหายาเสพติดสำหรับประเทศไทย มีประเด็นสำคัญ ดังนี้ทัศนคติของเจ้าหน้าที่และประชาชนใน สังคมต่อยาเสพติด ระบบบำบัดฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพและการกลับคืนสู่สังคมที่ได้ผล ตัวบทกฎหมายและการบังคับใช้ กฎหมายด้านยาเสพติด รวมถึงตัวชี้วัดที่เหมาะสมสอดสะท้อนกระบวนการปราบปรามป้องกันและการบำบัดฟื้นฟูจึงมี ข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับระบบยาเสพติดของประเทศไทย

2. ข้อปัญหาสำหรับกระทรวงสาธารณสุขในการเตรียมความพร้อมสำหรับการปรับระบบบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด ของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โครงสร้างหน่วยงานรับผิดชอบในระดับบริหารและปฏิบัติการพื้นที่ จำนวนบุคลากรที่มี ความรู้ความชำนาญด้านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดกระบวนการบำบัดฟื้นฟู(การค้นหา คัดกรอง บำบัดฟื้นฟูการติดตาม หลังบำบัดฟื้นฟู) และ ลดอันตรายจากยาเสพติด การประชาสัมพันธ์สื่อสาร ในวงกว้างระบบฐานข้อมูลยาเสพติดของ ประเทศไทย (บสต.) ด้านบำบัดฟื้นฟูฯ จึงได้รวบรวมปัญหาและเสนอ แนวทางการปฏิรูปการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดของ กระทรวงสาธารณสุข

3. ข้อเสนอเชิงนโยบาย กระทรวงสาธารณสุข ควรกำหนดโครงสร้างหน่วยงานกลางระดับกระทรวง สังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยา เสพติดระดับชาติในร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2561 กำหนดและกำกับมาตรฐานการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วย ยาเสพติดในระบบสมัครใจ บังคับบำบัด และต้องโทษรวมถึงการขยายผลในอนาคตอาศัยกลไก Service Plan ยาเสพติด นำกลไก “พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ” ในการขับเคลื่อนระบบค้นหาและติดตามผู้ป่วยยาเสพติด เพิ่มอัตรากำลัง รวมถึงองค์ความรู้บุคลากรในการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด เจ้าภาพหลักในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลยาเสพติดของ ประเทศด้านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดของประเทศไทย บูรณาการทุกกระทรวงหารูปแบบนวัตกรรมแนวใหม่ในการติดตาม ผู้เสพยาเสพติดตลอดช่วงวัย

 

ประวัติผู้แต่ง

อัครพล คุรุศาสตรา, สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

เอกสารอ้างอิง

American Group Psychotherapy Association. Practice guidelines for group psychotherapy. New York: American Group Psychotherapy Association. 2007:12-40.

Broadstock M, Brinson D, Weston A. The effectiveness of compulsory, residential treatment of chronic alcohol or drug addiction in non-offenders:a systematic review of the literature. Health Services Assessment Collaboration (HSAC), University of Canterbury; 2008.

Bunt GC, Muehlbach B, Moed CO. The therapeutic community: an international perspective. Substance Abuse. 2008 Aug 4;29(3):81-7.

De Leon, George. (2000). The therapeutics community: theory, model, and method. NY: Springer Publishing Company, Inc.

Donovan, D. M., & Wells, E. A. (2007). “Tweaking 12-Step”: The potential role of 12-stepselfhelp group involvement in methamphetamine recovery. Addiction, 102 (Supplement 1), 120-128. doi: 10.1111/j.1360-0443.2007.01773.x

Elwood M. Critical appraisal of epidemiological studies and clinical trials.Oxford University Press; 2017.

Executive Office of the President of the United States. 2011 National Drug Control Strategy; 2011.

Institute for Criminal Policy Research (2017): PRISON Evidence of its use and over-use from around the world.

Rossi, P.H., Freeman, H.E., &Lipsey, M.W. (1998). Evaluation: A Systematic Approach (6 ed.). CA: SAGE.

United States Department of State Bureau for International Narcotics and Law Enforcement Affairs. International Narcotics Control Strategy Report. 2011.

UNODC : Global SMART Programme : Patterns and Trends of Amphetamine-Type Stimulants and Other Drugs : Asia and the Pacific 2010.

Ministerial council on drug strategy. National drug strategy 2010-2015; 2010.

Ministry of Health. National Drug Policy 2007–2012. Wellington, New Zealand; 2007.

National Anti-drug Agency (NADA), Ministry of Home Affairs. MALAYSIA COUNTRY REPORT 2009.

National Institute on Drug Abuse [NIDA]. Drugs, Brains, and Behavior: The Science of Addiction 2014. Available from https://d14rmgtrwzf5a.-cloudfront.net/sites/default/files/ soa_2014.pdf

National Institute on Drug Abuse [NIDA]. Principles of Drug Addiction Treatment: A Research-Based Guide (Third Edition). Available from https://www.drugabuse.gov/publications/principles-drug-addictiontreatment-research-based-guide-thirdedition/principles-effective treatment.

National Institute on Drug Abuse : Principles of Drug Abuse Treatment for Criminal Justice Population.

WHO UNODC. Principles of Drug Dependence Treatment: Discussion Paper. United Nations publication. 2008.

World Health Organization : ATLAS on substance use (2010) — Resources for the prevention and treatment of substance use disorders.

United States Department of State Bureau for International Narcotics and Law Enforcement Affairs. International Narcotics Control Strategy Report. 2011.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-09-20

เวอร์ชัน

วิธีการอ้างอิง