ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • อารีย์ แร่ทอง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส

บทคัดย่อ

การวิจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3อ 2ส และความสัมพันธ์ ของความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของคนไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ของกองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข ประชากร ที่ศึกษาเป็น อสม. ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์จังหวัดนครศรีธรรมราช การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบง่าย ขนาดตัวอย่าง 183 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานโดยใช้สถิติPearson Chi -square และ Pearson Correlation

ผลการศึกษา พบว่า อสม.ส่วนใหญ่มีความรอบรู้อยู่ในระดับพอใช้คือมีความฉลาดทางสุขภาพเพียงพอต่อการปฏิบัติตนตามหลัก 3อ 2ส ร้อยละ 62.84 มีความรอบรู้ในระดับไม่ดีคือมีความฉลาดทางสุขภาพไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติตนร้อยละ 30.6 และระดับดีมากคือมีความฉลาดทางสุขภาพที่มากเพียงพอและมีการปฏิบัติตนตามหลัก 3อ 2ส ได้ถูกต้องและยั่งยืนจนเชี่ยวชาญร้อยละ 6.56 มีพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส อยู่ในระดับพอใช้คือมีการปฏิบัติตนตามหลัก 3อ 2ส ได้ปริมาณเพียงพอร้อยละ 66.7 รองลงมาอยู่ในระดับไม่ดีคือเป็นผู้ที่มีการปฏิบัติตนตามหลัก 3อ 2ส ได้น้อยและไม่ค่อยถูกต้องร้อยละ 30.1 และระดับดีมากคือมีการปฏิบัติตนตามหลัก 3อ 2ส ได้ปริมาณมากเพียงพอต่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนจนเชี่ยวชาญร้อยละ 3.3 ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุมีความสัมพันธ์อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3อ 2ส ที่ระดับนัยสำคัญ .05 (P=.026) โดย อสม.ที่มีอายุ 15-45 ปี ส่วนใหญ่มีความรอบรู้ระดับพอใช้ ร้อยละ 66.67 และอายุ ≥46 ปีขึ้นไปมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับพอใช้ ร้อยละ 60.68 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ2ส พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ2ส อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (r=.539)

เอกสารอ้างอิง

Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. (2018). Strengthening health Literacy from Village Health Volunteers to Foreign Health Volunteers: page 3, 7-8, 39-43.

Ginggeaw, S. and Prasertsri, N. (2015). The relationship between Health Literacy and Health Behaviors of the elderly with multiple chronic diseases.Nursing Journal of the Ministry of Public Health. Page 25(3):43-54. (Thai Version)

Kaewtong, N. et al., (2014). Health literacy of risky group in hypertension at Bannonghoi health promoting hospital,Sakaeo province. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. Page 30(1): 45-56. (Thai Version)

Khumthong, T. et al., (2016). Factors Influencing Health Literacy for riskypeople of Diabetes and Hypertension of UthaiThani and Ang Thong. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University.Page 3(6) : 67-85.

Lhakieow, A. and Chaleekreur, T. (2014). Health literacy and factors related to medication among patients with hypertension in Ban PiangLuang health promoting hospital, Chiang Mai Province.Acadamic report and the national and international research presentations, national group science. Page 1(6): 635-649.

Health Education Division, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health, (2015). Assessment and promotion of health literacy: page 2, 6, 7.

Health Education Division, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. (2018). Strategies for promoting health Literacy and health behaviour: page 5-6.

Health Education Division, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. (2018). Promoting the development of health literacy and health behavior: page 12, 13, 14.

The Regional Health Service Support Office 8(2015).The Conclusion of Health Literacy and Health Behaviour in 2 age-groupof Regional Health 8.Searched on July 14, 2018, from the website http://enzymeman77.blogspot.com/2015/10/health-literacy-8.htm.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-11-20

วิธีการอ้างอิง