ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ของผู้สูงอายุ ตำบลหนองแค อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
ผู้สูงอาย, ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเชื่อ ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในเขตตำบลหนองแค อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 202 คน สุ่มแบบชั้นภูมิ โดยนำเอาจำนวนผู้สูงอายุ ทั้งหมดมาจำแนกตามหมู่บ้านและเลือกสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ใช้วิธีการจับฉลากแบบ ไม่คืนที่ เก็บรวบรวม ข้อมูลระหว่าง มิถุนายน 2561-ตุลาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สถิติไคสแควร์และสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเชื่อด้านสุขภาพอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 93.6 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.65 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการรับรู้ความรุนแรงต่อการเกิดโรคและอุบัติเหตุสูงสุด อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.85 รองลงมา คือ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและอุบัติเหตุและการรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรคและอุบัติเหตุ ซึ่งอยู่ใน ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.79 และ 2.65 ตามลำดับ และมีการรับรู้อุปสรรคต่อการป้องกันโรคและอุบัติเหตุ อยู่ในระดับ ปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.29 กลุ่มตัวอย่างมีการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 84.7 โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.49 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้านการป้องกันโรคและอุบัติเหตุสูงที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.78 รองลงมา คือ ด้านการบริโภคอาหารและอุบัติเหตุ ด้านการหลีกเลี่ยงอบายมุข และด้านการจัดการความเครียด ซึ่งอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 1.59, 1.44 และ 1.36 ตามลำดับ และด้านการออกกำลังกาย อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.26 การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบว่า ระดับการศึกษาและแหล่งที่มาของรายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการรับรู้ประโยชน์ ของการป้องกันโรคและอุบัติเหตุ มีความ สัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษา สามารถใช้ประโยชน์ ในการวางแผนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุร่วมกับภาคีเครือข่ายคืนข้อมูลสู่ชุมชน ในเวทีประชุมระดับตำบลและเวทีประชาคมระดับหมู่บ้าน รวมทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้เป็นข้อมูล ในการออกแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ
เอกสารอ้างอิง
Becker. (1975) “as cited in” Piyanood Kawerung (2007). Health Believes and Health Care Behaviors of Elderly in Doklumduan Soceity, Khubua Subdistrict, Maung District, Ratchaburi Province. Bachelor of Science. Nakhon Pathom Rajabhat University.
Best. (1981) “as cited in” Phitsanu Aphisamacharayothin. (2014) “A Model of Integrative Medicine Use ofMusculoskeletal Disorders Patients in Nakhon Pathom Province,” Silpakorn University Journal. 34, 3 (September-December 2014): 171-190. (in Thai)
Guvenc G et.al. (2011). “Health Belief Model Scale for Cervical Cancer and Pap Smear Test: psychometric testing.” Nursing Research. 28 February 2011 : 428-437.
Lee Kyung Im and Eun Young, (2015). “The Relationship between Health Belief and Exercise Compliance among Elderly Adults at Senior Centers,” Journal of Korean Academy of Nursing. 26, 2 (June 2015): 79-88.
Hallal, JC. (1982). “The Relationship of Health Belief, health Locus of Control, And Self Concept to the Practice of Breast self Examination in Adult Women” Nursing Research. 31 May-June 1982 : 137-138.
Heckhumer, (1989) “as cited in” Jiraphan Supunya, Sirirat Srisuthiphanporn and other. (2010). Research report Health Condition and Health Behavior of the Elderly Ban Nong Phai, Nong Phai Subdistrict, Mueang District, Udon Thani Province. Udon Thani: Boromarajonani College.
Nuntawadee Duangkaew. (2008). Health Belief and Preventive Behaviors of Risk Group Diabetes Mellitus in Ko Kha District, Lampang Province. Degree Master of Public Health, Chiang Mai University. (in Thai)
Piyanood Kawerung and Anfarm Sirito. (2007). Health Believes and Health Care Behaviors of Elderly in Doklumduan Soceity, Khubua Subdistrict, Maung District, Ratchaburi Province. Bachelor of Science. Nakhon Pathom Rajabhat University. (in Thai)
Poupong Suabsumran. (2014) Health Believes and Health Care Behaviors of Elderly in Ku Suan Taeng Subdistrict, Ban Mai Chaiyapot District, Buriram Province. (27 August 2018). Available from http://203.157.162.18/ research_bro. (in Thai)
Rasi Salai District Public Health Office. (2018). Elderly report of Rasi Salai District Public Health Office Sisaket Province 2018. Annual report Sisaket Province. (in Thai)
Rosenstock. (1974) “as cited in” Somsong Rakphao and Sarongkhon Daungkhamsawat. Health education processfor the development of health behavior : the developmentof consumer behavior in the community. Nonthaburi: Office of the Permanent Secretary. (in Thai)
Rossukon Puensa-ard. (2011). Self-care Behaviors of Elderly Persons in the Elearly Social Group at Prannangklou Hospital. Master of Science (Health Education), Kasetsart University. (in Thai)
Suradech Duongthipsirikul. (2010). Alternative : Factors related to self-health care behavior of elderly at Tambon Chaaroenmuang Amphoe Phan Changwat Chiang Rai. Master of Arts, Kasetsart University. (in Thai)
Valorie L. Holwerda, (2000). “The Health Belief Model and Self Breast Examination in Nurses.” Submitted to Grand Valley State University in partial fulfillment of the requirements for the degree of master of science in nursing, 21-22.
Wipawan Panyaroen. (2009). Health Internal– External Locus of Control and Health–Care Behavior of the Thailue Elderly at Chaingkhum District Phayao Province. Master of Education, Srinakharinwirot University. (in Thai)
Wiriya Sukavong. (2002). Believes and Health Care Behaviors of elderly life at senior clubs in Bangkok. Master of Science (Health Education), Srinakharinwirot University. (in Thai)
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2020 Journal of Department of Health Service Support-วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.