รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
จังหวัดพิษณุโลก, รูปแบบ, การจัดการขยะมูลฝอยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed-method research design) มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดพิษณุโลก เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสถานการณ์สภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย กลุ่มตัวอย่าง คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการ ขยะมูลฝอย จำนวน 15 หน่วยงาน ใช้การสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลจากรายงานเอกสาร ระยะที่ 2 การประเมินผลรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานจัดการขยะมูลฝอย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive selection) จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยวิธีการสนทนากลุ่ม การประเมินความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประชากรอายุ 20 ปีขึ้นไป คัดเลือกโดยสุ่มอย่างง่าย ขนาดตัวอย่าง จำนวน 420 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ระยะที่ 3 การคืนข้อมูลผลจากการประเมินผลรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการขยะมูลฝอย วิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยวิธีการสนทนากลุ่ม ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 74.3 มีความรู้การจัดการขยะมูลฝอยระดับสูง ร้อยละ 54.8 มีส่วนร่วมด้านนโยบายการจัดการขยะมูลฝอยระดับสูง ร้อยละ 82.3 มีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยระดับปานกลาง และร้อยละ 51.5 ความพึงพอใจในการดำเนินงานระดับปานกลาง การศึกษาในครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะ คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องกำหนดนโยบายในการจัดการขยะมูลฝอยทั้ง 4 ประเภทให้ชัดเจน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ มีการกำกับ ติดตาม ประเมินผล รวมทั้งคืนข้อมูลให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
เอกสารอ้างอิง
Chantachoti C. (2017). Waste management on the main tourist routes of Chaiyaphum province. Journal of Western Research Humanities and Social Sciences 2017; 3(3), 1-10.
Chomprasert C. (2019).The Model of an Infectious Waste management of Patients in the communities at Phitsanulok Province.Journal of Public Health Naresuan University2019; 1(1), 53-66.
Kaewboonchu W., (2017). Factors Affecting Household Waste Separation Behavior of People in Donmueang Bangkok. The 20th National Graduate Research Conference. Khon Kaen University
Phitsanulok Provincial Public Health Office. (2018). Annual Report 2017. Phitsanulok Provincial Public Health Office, Phitsanulok.
Pollution Control Department. (2017). Action plan “Thailand without garbage” according to the guidelines “Pracha Rat” (2016-2017). Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment, Bangkok.
Pollution Control Department. (2018). MasterPlan for Municipal Waste Management (2016- 2021). Bangkok: Active Print Co., Ltd.
Sawatdichithang N., (2014) The Development Model Management Solid Waste of Community in Udon Thani Municipality. Journal of Graduate Study in Humanities and Social Sciences 2014;3 (1), 47-64.
Suttipongpracha T., (2017) Public participation and confidence in local administrative organizations: a case study of Khon Kaen Municipality. Bangkok: Local Government Promotion Foundation.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.