การพัฒนารูปแบบการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่สำหรับโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • เกวลิน ชื่นเจริญสุข กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • สมพร เนติรัฐกร กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมสุขภาพ, วัยทำงาน, พฤติกรรมสุภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่สำหรับโรงพยาบาล ศึกษาผลการดำเนินการ ความพึงพอใจต่อการรับบริการ และปัญหาอุปสรรคต่อการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็น 1) ผู้ทรงคุณวุฒิ ประชุมเสนอ Model จำนวน 30 คน 2) กลุ่มผู้ให้บริการ 20 คน จาก 2 โรงพยาบาลอาสาสมัคร 3) กลุ่มผู้รับบริการเชิงรับ/เชิงรุก 160 คน แบ่งเป็นผู้รับบริการเชิงรับ 80 คน และเชิงรุก 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ รูปแบบการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ แบบสอบถามการรับบริการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ แบบบันทึกผลการรับบริการ และแบบแนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired sample t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา พบผลการวิจัยดังนี้ รูปแบบการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ : มีผู้จัดการ 1 คน ดำเนินการประสาน เชื่อมโยง บูรณาการงานร่วมกัน ในเรื่องสถานที่ ควรแยกเป็นศูนย์ให้บริการโดยเฉพาะ เครื่องมือ อุปกรณ์ จัดให้มีแบบคัดกรองความเสี่ยงต่างๆ เครื่องชั่งน้ำหนัก ที่วัดส่วนสูง สายวัดรอบเอว เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องวัดสมรรถภาพร่างกาย ซึ่งเป็นเครื่องมือโดยเบื้องต้น ดำเนินการให้บริการทั้งเชิงรับและเชิงรุก (ในและนอกโรงพยาบาล) ในกลุ่มผู้มีสุขภาพดี กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรคอื่น ๆ โดยให้บริการตรวจคัดกรอง ตรวจสุขภาพ ตรวจสมรรถภาพทางร่างกาย ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ฝึกการออกกำลังกาย ให้บริการวัคซีน ตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ตรวจคัดกรองโรคจากการประกอบอาชีพ และให้บริการตามชุดบริการ หลังจากการรับบริการ ผู้รับบริการกลับไปดูแลตนเองที่บ้าน พบว่า มีพฤติกรรมสุขภาพดีกว่าก่อนการรับบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) มีน้ำหนัก เส้นรอบเอว สมรรถภาพทางร่างกายในเรื่องความจุปอด ความอ่อนตัว และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด ดีกว่าก่อนการรับบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) ทั้งในกลุ่มรับบริการเชิงรับและเชิงรุก ทั้งนี้ ผู้รับบริการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ทั้งในกลุ่มรับบริการเชิงรับและเชิงรุก มีความพึงพอใจต่อการรับบริการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ในระดับมาก ร้อยละ 90.0 และ 75.0 ตามลำดับ ผู้ให้บริการมีปัญหาต่อการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

จากผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ดังกล่าวมีประสิทธิผลที่ดี ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ จึงควรนำรูปแบบดังกล่าวไปจัดตั้งและดำเนินการในโรงพยาบาลต่าง ๆ ต่อไป

เอกสารอ้างอิง

Ekparakorn, w., Pukharoen, H, Thaikla, K.,Sathiannoppakao, W. (2016). The 5th public health survey by physical examination. Copy documents. (in Thai)

Inon, C., Phan Sa-at, W., Nanthaphon, N. (2009).Health promotion by using sports science tools. Bangkok : Printing house, agricultural cooperative of Thailand Ltd. (in Thai)

Jirasutsoontorn, S. (2018). The operations evaluation of working age wellness center, Suratthani province. Research report. (in Thai)

Palank. C.L. (1991) Determinants of Health Promotion Behavior. Nursing Clinics of North America.26(4): 815-832.

Pender, N., Murdaugh, C., & Parsons, M.A. (2011). Health promotion in nursing practice (6th ed.).Upper Saddle River NJ : Pearson Education LTD.

Rice, R. (2000). Telecaring in home care: Making a telephone visit. Geriatric Nursing.21(1), 56-57.

Stufflebeam, Foley, W. J., Gephart, W. J., Guba, E. G.,Hammond, R. L., Merriman, H.O,. (1971). Educational Evaluation and Decision – Making.Illinois : Peacock Publishers.

Thai Lifestyle Strategy Management Office. (2019).Operation manual for wellness Center,volume 1. Nonthaburi: The graphico systems company Limited. (in Thai)

Thai Lifestyle Strategy Management Office. (2020).Operation manual for wellness Center,volume 2. Nonthaburi: The graphico systems company Limited. (in Thai)

Unprommee, S. (2013). Important development of health promotion. Bangkok : Thanapress Company Limited. (in Thai)

Worasathit, P. (2019) The Working Age Wellness Center Model Development Research report. (in Thai)

World Health Organization (WHO). (2016). Healthy workplaces: A model for action. World Health Organization. Retrieved March 18, 2020, from: http://www.who.int/ occupational_health /publications/healthy_workplaces model.pd.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-11-03

วิธีการอ้างอิง