การพัฒนารูปแบบการวิเคราะห์ต้นทุนบริการและแผนธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังโรงพยาบาล ในเขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • กองมณี สุรวงษ์สิน กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ชฎาภรณ์ ชื่นตา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • ดนุภพ ศรศิลป์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • รังสรรค์ ศิริชัย โรงพยาบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

คำสำคัญ:

ต้นทุนบริการและแผนธุรกิจ, ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการวิเคราะห์ต้นทุนบริการและแผนธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังโรงพยาบาล และประเมินผลการพัฒนา มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอนคือ 1. พัฒนารูปแบบการวิเคราะห์ต้นทุนบริการและแผนธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังโรงพยาบาล (ในเดือนตุลาคม 2561-มกราคม 2562) 2. ทดลองใช้รูปแบบในโรงพยาบาลทุกแห่งในเขตสุขภาพที่ 10 จำนวน 71 แห่ง (ในเดือนมีนาคม 2562-เมษายน 2563) และ 3. ประเมินผลหลังทดลองใช้รูปแบบ (ในเดือนพฤษภาคม 2563-มิถุนายน 2562)

ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการวิเคราะห์ต้นทุนบริการและแผนธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง โรงพยาบาล ประกอบด้วยการดำเนินงาน 2 กิจกรรมคือ กิจกรรมแรกเป็นการวิเคราะห์ต้นทุนบริการและแผนธุรกิจด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชื่อ FM Costing Project Ket10 และกิจกรรมที่สองเป็นการใช้ข้อมูลที่ได้บริหารจัดการด้านการเงินการคลัง หลังทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาพบว่า ด้านผลลัพธ์จากโปรแกรม FM Costing Project Ket10 ทำให้ได้ข้อมูลปีงบประมาณที่ศึกษาข้อมูล (ปีงบประมาณ 2561) เกี่ยวกับต้นทุนบริการ รายได้จากการให้บริการ ผู้ป่วยนอกต่อครั้ง ผู้ป่วยในต่อ SumAdjRW จำแนกรายสิทธิด้านการประกันสุขภาพและภาพรวมทุกสิทธิ บริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคภาพรวมทุกสิทธิต่อประชากร และอัตราคืนทุนจำแนกรายสิทธิด้านการประกันสุขภาพและภาพรวมทุกสิทธิ และข้อมูลประมาณการปีงบประมาณถัดไป (ปีงบประมาณ 2562) เกี่ยวกับประมาณการต้นทุนบริการใหม่ งบประมาณควรได้ขั้นต่ำผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในรายสิทธิ ภาพรวมทุกสิทธิบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคภาพรวมทุกสิทธิ ข้อมูลประมาณการรายได้-ค่าใช้จ่ายหรืองบการเงินล่วงหน้า และแผนรายได้ค่าใช้จ่าย (แผนธุรกิจ) ด้านการประเมินประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังโรงพยาบาลพบว่า ก่อนการพัฒนาได้คะแนนประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง (6.04 คะแนน) สูงกว่าหลังการพัฒนา (5.27 คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และคณะกรรมการบริหารการเงินการคลังโรงพยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ส่วนมากใช้ข้อมูลต้นทุนบริการและแผนธุรกิจในระดับมากร้อยละ 52.23 พึงพอใจต่อการพัฒนาในระดับน้อยร้อยละ 54.86 เห็นด้วยต่อการพัฒนาในระดับมากร้อยละ 63.25 และให้ข้อเสนอแนะว่าควรพัฒนาระบบการนำเข้าข้อมูลในโปรแกรมให้สะดวก รวมทั้งกำหนดรูปแบบการใช้ข้อมูลผลการวิเคราะห์เพื่อบริหารระบบการเงินการคลังให้ชัดเจนและชี้แจงผู้เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

Direk Patamasiriwat. (2009). Measuring hospital efficacy as a monitoring tool Case Study: 166 medium sized community hospitals under the Permanent Secretary of the Ministry of Public Health. Journal of NIDA Development. 49(1): 84. (in Thai).

Kanjana Tiyathikom Walaiporn Patcharanarumon And Wiroj Tangcharoensathien. (2001). Unit cost Analysis: Standard and Quick Methods. Journal of Health Science. 10(3) : 359-362. (in Thai).

Kanokporn Suranathakun Sirat Sonchai Supasit Phanarunothai. (2003). Financial report study to demonstrate hospital performance. Nonthaburi: Health System Research Institute. (in Thai)

Orathai Khiewcharoen Supasit Phanarunothai Boonterm Tansurat and Chairot Seungsontiphon. (2012). Study report Individual patient costs of a healthcare unit in Phitsanulok Province: With the micro cost method. Nonthaburi: Office of Research for the Development of the Thai Health Coverage (OSMEP) Network of Institutes of Health Systems Research Institute (HSRI). (in Thai).

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-20

วิธีการอ้างอิง