การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดอุทัยธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดอุทัยธานี (2) ศึกษาสถานการณ์ของการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดอุทัยธานี (3) พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดอุทัยธานี และ (4) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดอุทัยธานี ดำเนินการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของของผู้สูงอายุในจังหวัดอุทัยธานี เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสถานการณ์ของความรอบรู้ด้านสุขภาพของของผู้สูงอายุในจังหวัดอุทัยธานีจากผู้ให้ข้อมูล 7 คน ด้วยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 ศึกษารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ในจังหวัดอุทัยธานี โดยผู้วิจัยนำผลการวิจัยจากขั้นตอนที่ 1 และ 2 มายกร่างรูปแบบ ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของผู้สูงอายุในจังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 42 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 21 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นรูปแบบ SMART Model และแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง (2) รูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ คือ SMART Model ประกอบด้วย 1) S: Survey, 2) M: Meeting, 3) A: Activity 4) R:Reflection, และ 5) T: Time หลังใช้รูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p <. 01)
เอกสารอ้างอิง
Boonsatean, W., Reantippayasakul, O. (2020). Health Literacy: Situation and Impacts on Health Status of the Older Adults. APHEIT Journal of Nursing and Health. 2(1): 1-19. (in Thai).
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 3rd ed. NewYork: Harper & Collins.
Health Education Division. (2018). Strengthening and evaluating health literacy and health behavior. Nonthaburi: Health Education Division, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. (in Thai).
Ishikawa, H., Nomura, K., Sato, M., Yano, E. (2008). Developing a measure of communicative and critical health literacy : a pilot study of Japanese office workers. Journal of Health PromotionInternational. 23(3): 269-274.
Krejcie, R. V., Morgan, D .W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Educational and Psychological Measurement. 30: 607-610.
Meebunmak, Y. et al. (2019). Health Literacy among Older Adults in a Semi-Urban Community in Ratchaburi Peovince. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 6: 129-141. (in Thai).
Nilnate, W. (2014). Health literacy in Thai elders in senior citizen club of Bangkok. [dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai).
Nilnate, W. and Ruangchutiphopan, W. (2019). Health Literacy and Nursing Professionals. Journal of Quality of Life and Law. 15(2): 1-18. (in Thai).
Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Journal of Social Science & Medicine. 67: 2072-2078.
Uthaithani Provincial Public Health Office. (2019). Statistics of the elderly in Uthaithani Province. Uthaithani: Uthaithani Provincial Public Health Office. (in Thai).
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.