ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขตสุขภาพที่ 9

ผู้แต่ง

  • อรณิชา โชติกาวานิชกุล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา
  • พรรณรัตน์ เป็นสุข สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา
  • ศศิรัศมิ์ นาชัยฤทธิวงศ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา
  • เบญจมาศ อุนรัตน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ป้องกันโรค, พยาธิใบไม้ตับ

บทคัดย่อ

การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคพยาธิใบไม้ตับให้กับนักเรียนในโรงเรียน เป็นมาตรการสำคัญในการปลูกฝังค่านิยม และสร้างวัฒนธรรมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ และศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโรคพยาธิใบไม้ตับของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตสุขภาพที่ 9 จำนวน 788 คน เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ และพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาในรูปของ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 69.6 และพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 74.4 ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<0.05) (r=0.100) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการโต้ตอบซักถามแลกเปลี่ยน และด้านการตัดสินใจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<0.05) (r=0.142, 0.074) อย่างไรก็ตาม ไม่พบความสัมพันธ์ในด้านการเข้าถึงข้อมูล ด้านความเข้าใจข้อมูล กับพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ดังนั้นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในโรงเรียน โดยเน้นทักษะด้านการโต้ตอบซักถามแลกเปลี่ยนความรู้ และการตัดสินใจ เพื่อเป็นการสร้างพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับอย่างต่อเนื่อง ให้มีสุขภาพดีและสามารถดูแลตนเองด้านสุขภาพได้

เอกสารอ้างอิง

Boonmas Tidarat. (2016). How to fish free from liver fluke. Journal of Pamphlet CASCAP: Cholangiocarcinoma and care program. 1(2):6-7. (in Thai).

Bureau of General Communicable Diseases,Department of Disease Control. (2020). Liver fluke Prevention guideline 2020. 10 Nov 2020. (in Thai).

Bureau of risk Communication Abdul health behavior Development. (2018). Department of Disease Control. Guideline for health literacy in disease prevention. 21 June 2018.(in Thai).

Data information for educated. (2018). Information of secondary students. Retrieved October 20,2018, form www.data.bopp-obec.info.(in Thai).

Duangsong Rujira. (2007). Research report of Health Behavioral developing for Opisthorchiasis prevention among people in Phuviang District, Khonkaen Province. (Faculty of Public Health, Khonkaen University). (in Thai).

Health Education Division. (2018). Enhancing and assessing health literacy and health behavior (Report of research). Nonthaburi: Department of Health Service Support. (in Thai).

Kaeodumkoen Kwanmuang. (2019). Health literacy. 1st edition. Bangkok: Amarin Printing and Publishing. (in Thai).

The Office of Disease Prevention and Control 9th Nakhon Ratchasima. (2018). Liver fluke Paper of plan and project. 30 Sep 2018. (in Thai).

Sasiri Wilaporn. (2017). Factors associated with Opisthorchissviverrini Infection of People in Rattanaburi District, Surin Province. Journal of The office of disease prevention and control 9 Nakhonratchasima. 23(1): 41-51. (in Thai).

Sisaard Bunchum. (2002). Preliminary research.7th edition. Bangkok: Suwiriyasarn. (in Thai)

Thongoiam Yutthawee. (2016). Health Status,Health Literacy and Health Behavior in Eating and Exercise of National Housing Authority in Bangkapi District, to Attend 3 Steps Healthy NHA 2015 Project. Journal of Department of Health Service Support.2(1): 38-45. (in Thai).

Songkham Wanpen and etc. (2018). Occupational and Environmental Health Situation among Ceramic Workers: Analysis in Community and Small Enterprises. Journal of Nursing.45(4): 97-110. (in Thai).

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.

Nutbeam D. (2000). Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Journal of Health promotion international. 15(3): 259-267.

Smith B, Kwok C, Nutbeam D. (2011). WHO Health Promotion Glossary: new terms. Journal of

Health Promotion International. 21(4): 340-345.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-20

วิธีการอ้างอิง