การพัฒนารูปแบบ การส่งเสริมพัฒนาการ เด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • นางปฐม นวลคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และผลลัพธ์การดำเนินงาน
รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดแม่ฮ่องสอนเครื่องมือที่ใช้ใน
การศึกษา คือแบบสอบถาม และแบบบันทึกผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย DSPM เก็บข้อมูล
ใน 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูพี่เลี้ยงเด็ก เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
จำนวน 50 คน มีระยะเวลาในการวิจัยตั้งแต่กรกฎาคม 2558 ถึง กรกฎาคม 2559 ส่วนที่ 2
การประเมินประสิทธิผลรูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เก็บข้อมูลในกลุ่มครูพี่เลี้ยง
และกลุ่มเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า กลุ่มตัวอย่าง แรกคือครูพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 35 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 35 คน กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มเด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าจำนวน 115 คน แบjงเป็นกล่มุ ทดลอง 65 คน และกลมุ่ เปรยี บเทียบ 50 คน โดยกลุ่มทดลองจะใช้รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นส่วนกลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้ดำเนินการตามรูปแบบที่พัฒนา ระยะเวลาเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง 6 เดือน คือ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง กรกฎาคม 2559 และส่วนที่ 3 การประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างคือเด็กปฐมวัยอายุ 30 และ 42 เดือนในปี 2558 จำนวน 616 คน ปี 2559 จำนวน 1,081 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, Independent t-test, และ paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย 3 กลวิธี คือ 1) การจัดการเรียนการสอนกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรและแผนการสอนชุดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยครูพี่เลี้ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นระยะเวลา 6 เดือนติดต่อกัน 2) การเฝ้าระวังและคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยครูพี่เลี้ยงเด็ก และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปีละ 2 ครั้ง และ 3) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและสังคม และการส่งต่อเด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าไปรับการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการในสถานบริการสาธารณสุขทั้งนี้จากการติดตามประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในกลุ่มทดลองพบว่าหลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ได้พัฒนาขึ้นมีผลของการมีความรู้ การมีส่วนร่วมของชุมชน และพฤติกรรมการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยดีขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบและมีค่าเฉลี่ยคะแนนรวมของเด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้ามากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบหลังการทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริม

พัฒนาการเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบพบว่า กลุ่มทดลอง มีผล
ของการมีความรู้ และพฤติกรรมการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยดีกว่ากลุ่มเปรียบ

เทียบ และมีค่าเฉลี่ยคะแนนรวมของเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้ามากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ซึ่งทำให้ผลลัพธ์ของการดำเนินงานส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กปฐมวัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีความครอบคลุมของการเฝ้าระวังและคัดกรองพัฒนาการเด็ก
ปฐมวัย ซึ่งจากเดิมร้อยละ 93.3 (ปี 2558) เพิ่มมากขึ้นเป็นร้อยละ 94.0 (ปี 2559) พบเด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26.2 (ปี 2558) เป็นร้อยละ 41.8 (ปี 2559) และสามารถติดตามช่วยเหลือและส่งต่อเด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าไปรับการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการจากสถาน
บริการสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 21.2 (ปี 2558) เป็นร้อยละ 77.2 (ปี 2559) ทั้งนี้ จึงควรนำรูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน กำหนดเป็นนโยบายและแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ดี และขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมทั้งการส่งเสริมและพัฒนาให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของชุมชนเพื่อให้เด็กปฐมวัยในชุมชนทุกคนมีโอกาสเข้ามาเรียนรู้และได้รับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง ตามรูปแบบดังกล่าว

คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-04-05