ผลของสารเฮสเพอริดินต่อภาวะความจำบกพร่องในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำโดยกรดวอลโพรอิก

Authors

  • Soraya Kaewngam Department of Anatomy, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Tanaporn Anosri Department of Anatomy, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Ram Prajit Department of Anatomy, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Kornrawee Suwannakot Department of Anatomy, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Nataya Sritawan Department of Anatomy, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Anusara Aranarochana Department of Anatomy, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Apiwat Sirichoat Department of Anatomy, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Wanassanan Pannangrong Department of Anatomy, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Jariya Umka Welbat Department of Anatomy, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์: การลดลงของการสร้างเซลล์ประสาท (neurogenesis) ในชั้น subgranular zone (SGZ) ของ dentate gyrus (DG) ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส สัมพันธ์กับภาวะความจำบกพร่อง มีการศึกษาในสัตว์ทดลองที่ได้รับกรดวอลโพรอิก (valproic acid; VPA)  พบว่ามีการสร้างเซลล์ประสาทในชั้น SGZ ลดลง ซึ่งส่งผลให้เกิดความจำบกพร่อง เฮสเพอริดิน (hesperidin; Hsd) เป็นสารสกัดจากธรรมชาติจากพืชจำพวกฟลาโวน ซึ่งมีฤทธิ์ในการเพิ่มและกระตุ้นการเรียนรู้และความจำ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ Hsd ต่อภาวะความจำบกพร่องในหนูที่ถูกกระตุ้นด้วย VPA

วิธีการศึกษา: หนูแรทเพศผู้สายพันธุ์ Sprague Dawley แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัว ได้แก่ กลุ่ม vehicle, VPA, Hsd และ VPA+Hsd โดย VPA (300 มก./กก.) ให้โดยการฉีดเข้าช่องท้อง วันละสองครั้ง เป็นเวลา 14 วัน Hsd (100 มก./กก./วัน) ให้โดยการป้อนทางปาก วันละครั้ง เป็นเวลา 21 วัน ในระหว่างการให้สารหนูจะถูกชั่งน้ำหนักและนำมาวิเคราะห์ และหลังจากสิ้นสุดการให้สาร 3 วัน หนูถูกทดสอบความจำโดยทำการทดสอบ novel object location (NOL) และ novel object recognition (NOR)

ผลการศึกษา: ผลของน้ำหนักและผลการทดสอบ NOL และ NOR ค่าระยะเวลาการสำรวจวัตถุทั้งหมดในแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) การทดสอบ NOL พบว่าหนูกลุ่ม vehicle, Hsd และ VPA+Hsd สามารถแยกความแตกต่างระหว่างวัตถุในตำแหน่งใหม่และตำแหน่งเก่าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อทดสอบ NOR พบว่าหนูกลุ่ม vehicle, Hsd และ VPA+Hsd สามารถแยกความแตกต่างระหว่างวัตถุใหม่และวัตถุเก่าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่หนูในกลุ่ม VPA ไม่สามารถแยกแยะได้ทั้งสองการทดสอบ

สรุป: การศึกษาในครั้งนี้พบว่าเฮสเพอริดิน สามารถฟื้นฟูความจำบกพร่องที่เกิดจากการเหนี่ยวนำโดยกรดวอลโพรอิกได้

คำสำคัญ: เฮสเพอริดิน; กรดวอลโพรอิก; ความจำบกพร่อง

 

 

Background and objective: Decreasing of neurogenesis in the subgranular zone (SGZ) of the dentate gyrus (DG) in the hippocampus is linked to memory deficits. In animal studies, treatment with valproic acid (VPA) impairs neurogenesis in the SGZ resulting in memory impairment. Hesperidin (Hsd), a plant flavanone, is a natural extract, which enhances learning and memory. Therefore, the aim of this study was to investigate the effect of Hsd on memory impairment in rats induced by VPA.

Methods: Male Sprague Dawley rats were divided into 4 groups (6 animals/group) including vehicle, VPA, Hsd and VPA+Hsd groups. VPA (300 mg/kg) was administrated by intraperitoneal (i.p.) injection twice daily for 14 days. Hsd (100 mg/kg/day) was administrated by oral gavage once a day for 21 days. Body weight was weighed and recorded every day. Three days after the treatment, rats were tested for memory using the novel object location (NOL) and novel object recognition (NOR) tests.

Results: The results showed that the body weight and total exploration time were not significantly different among groups in both NOL and NOR tests (p>0.05). In the NOL test, rats in the vehicle, Hsd and VPA+Hsd groups could significantly discriminate between the novel and familiar locations (p<0.05). In the NOR test, similarly, rats in the vehicle, Hsd and VPA+Hsd groups could significantly discriminate between the novel and familiar objects (p<0.05). In contrast, rats in the VPA group could not significantly performed in both tests.

Conclusion: This study demonstrates that hesperidin could improve the memory impairments induced by valproic acid.

Key word: Hesperidin; Valproic acid; Memory impairment

Downloads

Published

2021-09-29

Issue

Section

Original Articles