การศึกษาการดูแลทารกปากแหว่งเพดานโหว่ในห้องคลอด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย
Abstract
หลักการและวัตถุประสงค์ : ภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจทั้งของมารดา และทารก คณะผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาอุบัติการณ์ การตรวจวินิจฉัยและกิจกรรมการพยาบาลมารดา ทารกที่มีภาวะนี้
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาอุบัติการณ์ทารกปากแหว่ง เพดานโหว่ ที่คลอดในห้องคลอด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ใช้แบบเก็บข้อมูล 4 ส่วน ดังนี้ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ปัจจัยที่ทำให้เกิดปากแหว่ง เพดานโหว่ และการตรวจวินิจฉัย 3) ผลลัพธ์การคลอด และ4) กิจกรรมการพยาบาล เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน ประวัติการคลอด และแบบบันทึกกิจกรรมการพยาบาล เก็บข้อมูลในช่วงเดือนมกราคม- มีนาคม 2562 วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่เชิงปริมาณ ร้อยละ สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง 35 ราย ส่วนใหญ่อายุ 20-34 ปี (ร้อยละ 82.86) อยู่ในจังหวัดขอนแก่น (ร้อยละ48.5) ฝากครรภ์ร้อยละ 100 กับโรงพยาบาลศรีนครินทร์และโรงพยาบาลอื่นในจังหวัดขอนแก่น (ร้อยละ 71.43) มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ (ร้อยละ 37.14) มีการตรวจอัลตราซาวด์ระหว่างตั้งครรภ์ (ร้อยละ 100) ส่วนใหญ่ตรวจพบความผิดปกติก่อนคลอด (ร้อยละ 88.57) คลอดระหว่าง 37-42 สัปดาห์ (ร้อยละ 65.72) น้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 3,000 กรัม (ร้อยละ 31.42) APGAR score 1 นาที 8-10 คะแนน (ร้อยละ 48.58) พบปากแหว่งร่วมกับเพดานโหว่ทั้งข้างเดียวและ 2 ข้าง (ร้อยละ 62.86) แจ้งมารดาทราบความผิดปกติทารก (ร้อยละ 100) เป็นทารกเกิดมีชีพ 24 ราย และทารกมีความผิดปกติอื่นร่วมด้วยต้องยุติการตั้งครรภ์ 11 ราย มารดาและทารกได้รับการดูแลตามแนวทางที่กำหนด
สรุป : ทารกที่มีภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ส่วนใหญ่อัลตราซาวด์ตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่ก่อนคลอด เป็นทารกเกิดมีชีพ 24 ราย และทารกมีความผิดปกติอื่นร่วมต้องยุติการตั้งครรภ์ 11 ราย มารดาและทารกได้รับการดูแลตามแนวทางที่กำหนด
คำสำคัญ: ปากแหว่ง; ปากแหว่งเพดานโหว่
Background and Objectives: Cleft lip and palate is an anomaly that can severely traumatize both the mother and child’s mental health, a topic which is of interest about incidents, diagnosis, and nursing activity to the researchers.
Methods: This was a descriptive research was employed in conveying the conditions of infants with cleft lip and palate who were attended the Labor room at Srinagarind hospital, Khon Kaen University. The collected data was divided into four parts: 1) baseline characteristics, 2) associated factors and diagnosis, 3) pregnancy outcomes, and 4) nursing activity. Data were collected from the medical record, birth records, and nursing activity record period between January, 2019 to March, 2019. Statistics used for data analysis included frequency, percentile, and qualitative analysis.
Results: There was a total of 35 cases during the study period, aged 20-34 years old (82.86%), residing in Khon Kaen (48.5%). A twenty-five pregnant women (71.43%) were attended both antenatal care at Srinagarind hospital and other hospitals, There was a complicated during pregnancy (37.14%) and had been diagnosed with an abnormality during antenatal period (88.57%). The majority of the women had delivery at 37-42 weeks (65.72%), with birth weight of the infant more than 3,000 grams (31.42%) and an APGAR score at 1 minute ranging from 8-10 points (48.58%). The newborns were diagnosed cleft lip with Unilateral or bilateral cleft palate (62.86%), and eleven newborns had other anomalies and were terminated.
Conclusion: All pregnant women in this study were detected cleft lip and palate-by ultrasound. Twenty-four cases were live births and eleven cases were death by medical abortion. The mothers and infants were provided care based on standard.
Keyword: Cleft lip, Cleft-palate.