ผลของการปรับปรุงคุณภาพการจัดเตรียมเครื่องมือแพทย์ต่อการเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการในการบริการของงานจ่ายกลาง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Authors

  • Sasithorn Ruangprasertkul Central Sterile Supply Department, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Ponsawan Quobuwan Central Sterile Supply Department, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์ : การจัดเตรียมเครื่องมือแพทย์ปลอดเชื้อที่ใช้ในการบริการของโรงพยาบาลของงานจ่ายกลางต้องมีคุณภาพและพร้อมใช้ โดยต้องมีแนวทางการปฏิบัติที่ดี เพื่อสร้างความปลอดภัยความเชื่อมั่นในการบริการและสร้างความพึงพอใจให้ผู้รับบริการมากที่สุดและสามารถตอบสนองต่อการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือเพื่อปรับปรุงและกำหนดแนวทางการจัดเตรียมเครื่องมือแพทย์เพื่อให้ผู้รับบริการพึงพอใจ

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ โดยประยุกต์ตามแนวคิด Kaizen และ ECRS ครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนการปรับปรุงคุณภาพในการจัดเตรียมเครื่องมือ 2) ปรับปรุงคุณภาพ วางแผนการใช้แนวทางการจัดเตรียมเครื่องมือที่ผู้วิจัยประยุกต์และพัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ เพิ่มหมวดตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ อบรมนิเทศผู้รับผิดชอบ การจัดกิจกรรมสนทนากลุ่มในผู้ร่วมวิจัย การปรับปรุงกระบวนการทำความสะอาดและระบบการสำรองเครื่องมือ และ 3) ประเมินผลการพัฒนาจาก (1) การปรับปรุงคุณภาพการจัดเตรียมเครื่องมือ และ (2) ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ระยะเวลาในการศึกษาเดือนมกราคม - เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562

ผลการศึกษา: 1) ร้อยละของเครื่องมือแพทย์ผ่านเกณฑ์ก่อนและหลังการปรับปรุงคุณภาพ มีค่าเฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 91.82±1.19 และ 95.33±1.25 ตามลำดับ (p ≤ 0.005) และ 2) ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการก่อนและหลังการปรับปรุงเพิ่มขึ้นจาก 76.80 เป็นร้อยละ 83.40 (p = 0.006)

สรุป: การนำแนวคิด Kaizen และ ECRS มาใช้แก้ไขปัญหาและปรับปรุงคุณภาพ สามารถเพิ่มคุณภาพการจัดเตรียมเครื่องมือ สร้างแนวทางการปฏิบัติงานที่ดีและเพิ่มความพึงพอใจให้ผู้รับบริการ

คำสำคัญ:การปรับปรุงคุณภาพ;  การจัดเตรียมเครื่องมือ; งานจ่ายกลาง; ความพึงพอใจ

Background and Objective: Preparation of medical devices from CSSD for use in hospital services requires quality and readiness for use. A guideline for good practice is necessary for safety, assurance, and maximum customer satisfaction, and to accommodate effective healthcare services. The objective of this research is to improve and develop medical device preparation guidelines to satisfy clients.

Methods: This action research was based on the concepts of Kaizen and ECRS. The research was conducted in three phases, which were: 1) study, problem analysis and planning for improving the preparation of medical devices; improving the quality, planning for implementation of medical device preparation guidelines which the research team adapted and developed, adding inspection categories, training the staff members, holding focus group, improving cleaning processes and stock system; 3) improvement evaluation from (1) quality improvement of medical device preparation and (2)client satisfaction. The research took place from January to December 2019.

Results: The monthly percentages of medical equipment passing quality criteria before and after the implementation plan were 91.82±1.19% and 95.33±1.25% (p ≤ 0.005). Average client satisfaction score increased from 76.80% to 83.40% (p = 0.006).

Conclusion: The implementation of Kaizen and ECRS principles for quality improvement successfully increased the quality of equipment preparation, improved client satisfaction, and introduced standardized, quality guidelines.

Key word: Quality improvement; Preparation of medical devices; CSSD; Satisfaction.

Downloads

Published

2021-09-29

Issue

Section

Original Articles