ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกของคณะแพทยศาสตร์แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Authors

  • Sriarpa Auchayasawat Psychiatry and Addition Division, Sisaket Hospital

Abstract

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะซึมเศร้าเป็นสาเหตุสำคัญอันดับต้นที่ทำให้เกิดภาวะทุพลภาพ นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกต้องปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยด้วยนอกเหนือจากการเรียนในภาคบรรยาย ซึ่งก่อให้เกิดความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก

วิธีการศึกษา: รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง แบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปและแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม และแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม ส่งแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ให้กับนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกทุกราย จำนวน 133 ราย ในช่วงเวลา 1 – 31 กรกฎาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS Statistics version 22 ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยควอไทล์ และสถิติเชิงวิเคราะห์  Chi-square test และ Fisher’s exact test

ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 92 ราย พบความชุกของภาวะซึมเศร้าจำนวน 36 ราย (ร้อยละ  39.1; 95%CI 29.1- 49.9) นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าระดับน้อย 22 ราย (ร้อยละ 23.9) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ นักศึกษาที่พักการศึกษา (p = 0.043)

สรุป:  หนึ่งในสามของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกมีภาวะซึมเศร้า ควรให้ความสำคัญการคัดกรองและติดตามภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกโดยเฉพาะนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกที่พักการศึกษา

คำสำคัญ : นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก; ซึมเศร้า

 

Background and Objective: Depression is a primary significant cause of the disability. The clinical medical students  must  work on ward other than studying in lecture section, resulting in both physical and mental stress. This research aimed to study the prevalence and factors associated with depression among the clinical medical students.

Methods: A cross-sectional descriptive study was conducted. The questionnaire consisted of general basic information and depression assessed by 2 Questions (2Q) for screening and 9 Questions (9Q) for assessed depressive symptom.  The electronic questionnaires were sent to all of 133 clinical medical students in the period of 1 – 31 July 2019. The data was analyzed using  SPSS Statistics version 22. The descriptive statistics consisting of number, percentage, maximum, minimum, mean, standard deviation, median and interquartile range. Analytical statistics consisting of Chi-square and Fisher’s exact test.  

Results: There were 92 partcipants. The prevalence of depression was found in 36 persons (39.1%; 95%CI 29.1- 49.9). Most of the clinical medical students had mild depression for 22 persons (23.9%). The factor associated with depression was the dropout clinical medical studens (p-value = 0.043).

Conclusion: One third of clinical medical students were depression. Suggest to screening and monitoring of depression in the clinical medical students particularly in the dropout clinical medical studens.

Keyword:  clinical medical year; depression

Downloads

Published

2021-09-29

Issue

Section

Original Articles