ตำแหน่งการเข้าช่องท้องทางเลือกในการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช: การทบทวนวรรณกรรมและบรรยายสรุป
Abstract
บทคัดย่อ
บริเวณสะดือเป็นตำแหน่งที่มักใช้สำหรับการเข้าช่องท้องในการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช โดยเป็นตำแหน่งแรกที่แพทย์ใช้เข็มแทงเพื่อใส่แก๊สเข้าในช่องท้อง ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงของการมีพังผืดในบริเวณดังกล่าว ตำแหน่งอื่นๆที่แพทย์อาจเลือกใช้ในการเข้าช่องท้อง ได้แก่ Palmer’s point ซึ่งอยู่บริเวณช่องท้องส่วนบนในด้านซ้าย ใต้ต่อขอบกระดูกซี่โครงลงมาสามเซนติเมตร ในตำแหน่งเดียวกับจุดกึ่งกลางกระดูกไหปลาร้า และตำแหน่ง Lee-Huang point ซึ่งอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างสะดือและลิ้นปี่ ซึ่งตำแหน่งทั้งสองดังกล่าวมีรายงานว่าทำได้ง่ายและปลอดภัย ตำแหน่งทางเลือกอื่นๆได้แก่ บริเวณใต้ต่อขอบชายโครง ในตำแหน่งเดียวกับจุดกึ่งกลางกระดูกไหปลาร้า และบริเวณช่องว่างระหว่างซี่โครงคู่ที่เก้าหรือสิบทางด้านซ้าย และเมื่อไม่นานมานี้ มีผู้ได้เสนอตำแหน่งใหม่ในการเข้าช่องท้อง (เช่น Jain point และLatif’s point) สำหรับผู้ป่วยที่อาจมีพังผืดจากประวัติที่เคยได้รับการผ่าตัดมาก่อน อย่างไรก็ดี ควรมีหลักฐานการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตเพื่อยืนยันความปลอดภัยของเทคนิคใหม่ดังกล่าว
คำสำคัญ: การเข้าช่องท้องในการผ่าตัดผ่านกล้อง; ภาวะแทรกซ้อนของการเข้าช่องท้องในการผ่าตัดผ่านกล้อง; พังผืดบริเวณสะดือ
Abstract
The periumbilical area is the typical site for initial abdominal entry during gynecologic laparoscopy. Placing a gas insufflation needle and primary trocar through the umbilicus, however, is deemed hazardous in cases in which there is a risk of peritoneal and visceral adhesions to the umbilical region. Common alternative sites for an abdominal entry during gynecologic laparoscopy are Palmer’s point, which is located in the left upper quadrant 3 cm below the costal margin in the midclavicular line, and the Lee-Huang point, which is located at the midline between the umbilicus and sternal xiphoid process. Available evidence has shown both of these points to be both feasible and safe as the initial entry site during gynecologic laparoscopy. Other alternative access sites include the subcostal margin in the midclavicular line and the left ninth or tenth intercostal space. Recently, new laparoscopic entry sites (i.e., Jain point and Latif’s point) have been proposed for cases in which there is suspected adhesion due to previous surgery. Further studies, however, are needed to verify the safety and feasibility of these entry techniques.
Keywords: Laparoscopic entry; Complications of laparoscopic entry; periumbilical adhesions; primary port