การใช้บอลลูนอุดตันเส้นเลือดแดงใหญ่เพื่อห้ามเลือดในการกู้ชีวิตผู้บาดเจ็บ ณ ห้องฉุกเฉิน

Authors

  • Panu Teeratakulpisarn Department of Surgery, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Abstract

บทคัดย่อ

ภาวะเลือดออกบริเวณลำตัวที่ไม่สามารถกดหยุดห้ามเลือดได้ไม่ว่าจะเป็นช่องอก ช่องท้อง หรืออุ้งเชิงกราน เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้บาดเจ็บเสียชีวิต ในอดีตที่ผ่านมาการผ่าตัดเปิดทรวงอกเพื่อกู้ชีวิตสามารถเพิ่มอัตรารอดชีวิตโดยรวมได้เพียงร้อยละ 8.5 ซึ่งมีผลลัพธ์ที่ไม่เป็นที่น่าพอใจและแนะนำให้ทำในเฉพาะรายที่ไม่มีชีพจรแล้วเท่านั้น จึงเป็นที่มาของการทำหัตถการเพื่อกู้ชีวิตในรูปแบบใหม่ที่เรียกกันว่า “การใช้บอลลูนอุดตันเส้นเลือดแดงใหญ่เพื่อห้ามเลือดในการกู้ชีวิตผู้บาดเจ็บ” คือ การสอดอุปกรณ์ที่เป็นลักษณะของบอลลูนเข้าไปในหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ แล้วเคลื่อนอุปกรณ์ผ่านหลอดเลือดเข้าไปยังเส้นเลือดแดงใหญ่ในทรวงอก เพื่อทำการขยายบอลลูนเพื่ออุดตันเส้นเลือดแดงใหญ่ไม่ให้เลือดไหลผ่านลงมายังร่างกายส่วนล่างที่มีบาดแผลเลือดออก ผลที่ได้รับคือ เลือดไหลจากบาดแผลภายในช่องท้องหรือเชิงกรานชะลอลง และเพิ่มปริมาณเลือดไหลกลับสู่หัวใจและอวัยวะสำคัญที่อยู่เหนือต่อจุดอุดตัน แล้วจึงนำผู้บาดเจ็บไปผ่าตัดรักษาเพื่อห้ามเลือดในช่องท้องหรือเชิงกรานต่อไป ถือเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มอัตรารอดชีวิตในผู้บาดเจ็บให้มากยิ่งขึ้น

 

คำสำคัญ: บอลลูนอุดตันเส้นเลือด; กู้ชีวิต; ผู้บาดเจ็บ; ความดันโลหิตต่ำ; เลือดออกในช่องท้อง

 

Abstract

          Non-compressible torso hemorrhage such as thorax, abdomen or pelvis is the leading cause of death in trauma patients. Previously, resuscitative thoracotomy provided 8.5% of survival rate which is not satisfactory and recommended in only cardiac arrested patient. It is the origin of the new life-saving procedure called “Resuscitative endovascular balloon occlusion of the Aorta – REBOA”. The procedure is to insert the balloon into the aorta via common femoral artery then inflate the balloon to occlusion of the aorta. The result is to slow down the hemorrhage in abdomen or pelvis and increase blood flow to heart and the organs above the occlusion level. Then move the patient to surgery for stop bleeding in abdomen or pelvis. Thus, this procedure will increase survival rate in trauma patients.

 

Key words: resuscitative; endovascular; balloon; occlusion; aorta; REBOA; hemorrhage; shock; trauma; torso hemorrhage

Downloads

Published

2021-09-30

Issue

Section

Review Article