ความคาดหวังและความรู้ต่อการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงของสตรีตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ประเทศไทย
Abstract
Pregnant Women’s Expectations and Knowledge Regarding Ultrasound Scanning at Srinagarind Hospital in Thailand
Piyamas Saksiriwuttho, Thawanwong Rattanasiri, Rattana Komwilaisak, Pilaiwan Kleebkaow
Chatuporn Duangkum, Kiattisuk Kongwattanakul, Sukanya Chaiyarach*
Division of Fetal Diagnosis and Therapy, Department of Obstetrics and Gynaecology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen
Received: 27 October 2020/ Accepted: 2 April 2021/ Published online:
*Corresponding author: Sukanya Chaiyarach, Division of Fetal Diagnosis and Therapy, Department of Obstetrics and Gynaecology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen. E-mail:
sukanyatanoorat@hotmail.com, sukancha@kku.ac.th
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความคาดหวังและความรู้ของสตรีตั้งครรภ์ต่อการตรวจอัลตราซาวด์ในระหว่างตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์
วิธีการศึกษา: การศึกษาไปข้างหน้า เชิงพรรณนาแบบตัดขวาง โดยอาสาสมัครเป็นสตรีตั้งครรภ์แรก และเป็นการตั้งครรภ์เดี่ยว อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป จำนวน 386 ราย ที่มาฝากครรภ์ที่ห้องตรวจครรภ์ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สตรีตั้งครรภ์ทุกคนเป็นผู้กรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง แบบสอบถามประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป คำถามเพื่อประเมินความรู้และคำถามเพื่อประเมินความคาดหวังของสตรีตั้งครรภ์ต่อการตรวจอัลตราซาวด์ ตามลำดับ
ผลการศึกษา: สตรีตั้งครรภ์ส่วนมาก มีความรู้ที่ถูกต้องต่อการตรวจอัลตราซาวด์ มีสตรีตั้งครรภ์ส่วนหนึ่งไม่ได้ตระหนักว่า การตรวจอัลตราซาวด์มากเกินไปเป็นการเพิ่มภาระงานให้กับแพทย์ ทำให้เสียเวลาและเสียค่าใช้จ่าย ความคาดหวังของสตรีตั้งครรภ์ส่วนมากในการขอตรวจอัลตราซาวด์คือ เพื่อประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์
สรุป: สตรีตั้งครรภ์ส่วนมากมีความรู้ที่ถูกต้องต่อการตรวจอัลตราซาวด์ ความคาดหวังของสตรีตั้งครรภ์ส่วนมากในการขอตรวจอัลตราซาวด์คือ ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์
คำสำคัญ: ความคาดหวัง; ความรู้; การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง
Abstract
Objective: To evaluate pregnant women’s expectations and knowledge regarding ultrasound scanning at Srinagarind Hospital.
Methods: This is a prospective, descriptive, cross-sectional study. Three hundred and eighty-six singleton primigravida women, gestational age > 20 weeks who attend Antenatal Care Clinic, Outpatient department, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University. All participants completed a self-administered questionnaire consisting of three parts, socio-demographic characteristics, questions aimed at assessing the participant’s ultrasound scanning knowledge and questions constructed to assess the participant’s expectations regarding ultrasound scanning, respectively.
Results: Most of participants demonstrated adequate knowledge regarding ultrasound scanning. Most did not realize that too many ultrasound scanning increased doctors’ workloads and wasted time and money. About the expectations with regard to ultrasound scanning, the most common reason for patients wanting to undergo ultrasound scanning in our study was to ensure the fetal health.
Conclusion: The pregnant women demonstrated high levels of knowledge regarding ultrasound scanning. The most common reason for wanting an ultrasound scanning was to ensure fetal health.
Keywords: Expectations; Knowledge; Ultrasound