แนวโน้มการเสียชีวิตทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลชัยภูมิ ปีงบประมาณ 2555 - 2562
Abstract
Trends in Neonatal Mortality at Chaiyaphum Hospital , 2012-2019
Juthatip Udomsup
Division of Pediatric , Chaiyaphum Hospital , Chaiyaphum Province
Received: 13 January 2021 / Accepted: 29 March 2021 / Publish online:
Corresponding Author : Juthatip Udomsup , Division of Pediatric , Chaiyaphum Hospital , Chaiyaphum Province .Phone number 0815790901 Email : juthatip_u@hotmail.com
หลักการและวัตถุประสงค์: การเสียชีวิตในทารกแรกเกิดเป็นตัวชี้วัดถึงภาวะสุขภาพของแม่และเด็ก วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดอายุ 0 - 28 วันในโรงพยาบาลชัยภูมิปีงบประมาณ 2555 -2562 และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต
วิธีการศึกษา: ศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาโดยรวบรวมข้อมูลทารกเกิดมีชีพที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลชัยภูมิระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562 จำนวน 30,375 คน ทำการศึกษาในทารกแรกเกิดอายุ 0 – 28 วันที่เสียชีวิตจำนวน 232 ราย ศึกษาแนวโน้มอัตราการเสียชีวิต ระยะเวลาที่เสียชีวิต สาเหตุการเสียชีวิต วิเคราะห์แนวโน้มโดยใช้ chi - square test , p < 0.05 และปัจจัยความสัมพันธ์ด้านน้ำหนักแรกเกิดและอายุครรภ์กับการเสียชีวิตโดยใช้ univariate analysis , Odd Ratio (OR) , 95% CI
ผลการศึกษา: อัตราการเสียชีวิตทารกแรกเกิดอายุ 0 – 28 วันในโรงพยาบาลชัยภูมิปีงบประมาณ 2555 – 2562 เท่ากับ 7.64 ต่อทารกเกิดมีชีพ 1,000 ราย แนวโน้มการเสียชีวิตจากปีงบประมาณ 2555 - 2562 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.34) ปัจจัยด้านอายุครรภ์และน้ำหนักแรกเกิดมีความ สัมพันธ์กับการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อายุครรภ์น้อยและน้ำหนักแรกเกิดน้อยจะมีโอกาสเสียชีวิตสูงขึ้น โดยเสียชีวิตสูงสุดในทารกแรกเกิดอายุครรภ์ < 28 สัปดาห์ (OR 357.553 , 95 % CI 236.748 – 540.002 , p < 0.001) และน้ำหนักแรกเกิด 500 - 999 กรัม (OR 384.270 , 95 % CI 256.998 - 574.573 , p < 0.001) ระยะเวลาเสียชีวิตสูงสุดในช่วงอายุ 0 – 7 วันแรก (early neonatal deaths) ร้อยละ 72.84 สาเหตุเสียชีวิตส่วนใหญ่จากการติดเชื้อในกระแสเลือด (neonatal sepsis) ร้อยละ 40.52 แนวโน้มสาเหตุการเสียชีวิตจากภาวะหายใจลำบากจากการขาดสารลดแรงตึงผิวในทารกเกิดก่อนกำหนด (respiratory distress syndrome) และการติดเชื้อในกระแสเลือดอายุ ≥ 72 ชั่วโมง (late onset neonatal sepsis) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การติดเชื้อในกระแสเลือดอายุ < 72 ชั่วโมง (early onset neonatal sepsis) แนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: แนวโน้มการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดอายุ 0 – 28 วันในโรงพยาบาลชัยภูมิปีงบประมาณ 2555 – 2562 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยความสัมพันธ์ด้านอายุครรภ์และน้ำหนักแรกเกิดมีความ สัมพันธ์กับการเสียชีวิต อายุครรภ์น้อยและน้ำหนักแรกเกิดน้อยจะมีโอกาสเสียชีวิตสูงขึ้น สาเหตุเสียชีวิตสูงสุดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด
คำสำคัญ: อัตราการเสียชีวิตทารกแรกเกิด; ระยะเวลาที่เสียชีวิต; สาเหตุการเสียชีวิต; ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต
Background and Objectives: Neonatal mortality is considered a basic measure of public maternal and child health. This study aimed to determine trends in neonatal mortality at Chaiyaphum Hospital during the period from 2012 to 2019 and to determine potential factors contributing to neonatal mortality.
Methods: A retrospective descriptive study of 30,375 live births , who were admitted in Chaiyaphum Hospital between 1 October 2011 and 30 September 2019. 232 neonatal deaths (0 - 28 days) at Chaiyaphum Hospital were analyzed. Data were analyzed for statistical significant (p < 0.05) by
chi – square test. Neonatal mortality rates , time of death , causes of death were calculated. Factors contributing to the neonatal mortality stratified by gestational age and birth weight were compared in univariate analyses by calculating odd ratio (OR) and 95% confidence interval.
Results: The overall neonatal mortality rate at Chaiyaphum Hospital during the period from 2012 to 2019 was 7.64 per 1000 live births. Overall neonatal mortality remained unchanged from 2012 to 2019
(p = 0.34). Factors significantly associated with neonatal mortality include preterm and low birth weight , especially extremely preterm < 28 weeks gestation (OR 357.553 , 95 % CI 236.748 – 540.002 , p < 0.001) and extremely low birth weight 500 - 999 gram (OR 384.270 , 95 % CI 256.998 - 574.573 , p < 0.001). Time of death , 72.84 % were early neonatal deaths. Cause of neonatal death , the largest neonatal mortality was neonatal sepsis (40.52 %). The trends in neonatal mortality rates of respiratory distress syndrome , late onset neonatal sepsis showed statistically significant decreases , but early onset neonatal sepsis significantly increased.
Conclusion: The overall neonatal mortality at Chaiyaphum Hospital remained unchanged from 2012 to 2019. Factors significantly associated with neonatal mortality include preterm and low birth weight. Cause of neonatal death , the largest neonatal mortality was neonatal sepsis.
Keywords: neonatal mortality rate; time of death; causes of death; factors contributing to the neonatal mortality