ความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาพาราเซตามอลของประชาชนแขวงนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร

Authors

  • Jidapa Suksusin Pharmacist, Practitioner Level, Phyathai Hospital Nawamin, Bueng Kum, Bangkok
  • Nichaporn Saelee Pharmacist, Practitioner Level, Vejthani Hospital, Bang Kapi, Bangkok
  • Wannakon Chuemongkon Department of Clinical Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University, Ongkharak, Nakhon Nayok

Abstract

Knowledge and Behavior Regarding Paracetamol Usage among Residents of Nawamin Sub-district, Bueng Kum District, Bangkok

Jidapa Suksusin1, Nichaporn Saelee2, Wannakon Chuemongkon3*

1 Pharmacist, Practitioner Level, Phyathai Hospital Nawamin, Bueng Kum, Bangkok 10230

2 Pharmacist, Practitioner Level, Vejthani Hospital, Bang Kapi, Bangkok 10240

3 Department of Clinical Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University, Ongkharak, Nakhon Nayok 26120

Received: 14 January 2021 / Accepted: 2 March 2021  / Publish online:

Corresponding author: Wannakon Chuemongkon, Department of Clinical Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University, Ongkharak, Nakhon Nayok. E-mail: wannakon@g.swu.ac.th

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: ยาพาราเซตามอลเป็นยาสามัญประจำบ้านที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป และนิยมนำมาใช้ในการบรรเทาอาการปวดด้วยตนเอง ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาพาราเซตามอลของประชาชนแขวงนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในประชาชนแขวงนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานครจำนวน 396 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง

ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมงานวิจัยส่วนใหญ่มีระดับความรู้การใช้ยาพาราเซตามอลอยู่ในระดับปานกลาง และมีคะแนนความรู้การใช้ยาพาราเซตามอลเฉลี่ย 6.37±2.04 คะแนน จาก 12 คะแนน โดยประเด็นคำถามที่มักจะมีความรู้ที่ไม่ถูกต้องมากที่สุด คือ ‘การรับประทานยาพาราเซตามอลมากเกินไปจะเป็นพิษต่อไต’ ส่วนพฤติกรรมการใช้ยาพาราเซตามอล พบว่าผู้เข้าร่วมงานวิจัยมีคะแนนพฤติกรรมการใช้ยาพาราเซตามอลเฉลี่ย 5.73±1.11 คะแนน จาก 7 คะแนน โดยประเด็นคำถามที่มักปฏิบัติไม่ถูกต้องมากที่สุด คือ ‘จำนวนเม็ดที่ใช้ยาพาราเซตามอลในแต่ละครั้ง’ โดยปัจจัยด้านระดับการศึกษา อาชีพหลัก รายได้ในครัวเรือน และผู้ที่มีโรคตับมีผลต่อความรู้การใช้ยาพาราเซตามอลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=<0.001, 0.022, 0.005 และ 0.031 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยด้านระดับการศึกษามีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาพาราเซตามอลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.012) และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้การใช้ยาพาราเซตามอลกับพฤติกรรมการใช้ยาพาราเซตามอลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: ประชาชนในแขวงนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาพาราเซตามอลระดับปานกลาง และประชาชนบางส่วนยังมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาพาราเซตามอลที่ไม่เหมาะสม เภสัชกรควรมีบทบาทในการแก้ไขความรู้และความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง และหาแนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ประชาชนมีการใช้ยาพาราเซตามอลอย่างถูกต้องและสมเหตุผลต่อไป

คำสำคัญ: ความรู้; พฤติกรรม; การใช้ยาพาราเซตามอล

Abstract

Background and Objectives: Paracetamol on the over-the-counter (OTC) drug that people could purchase without a prescription and generally used for pain relief by themselves. Therefore, this study aimed to assess knowledge and behavior regarding paracetamol usage among residents of Nawamin sub-district, Bueng Kum district, Bangkok.

Methods: This cross-sectional descriptive study was performed in 396 respondents of Nawamin sub-district, Bueng Kum district, Bangkok. The data was collected by self-administered questionnaire.

Results: Most participants had moderate level of knowledge (mean of 6.37±2.04 from 12 points). ‘Paracetamol overdose can lead to renal toxicity’ was the question which most participants were incorrect. In term of behavior of paracetamol usage (mean of 5.73±1.11 from 7 points), most of participants had inappropriate practice of ‘the number of paracetamol tablets administered at each dose’. Factors significantly affecting knowledge of paracetamol use included education level, occupation, household income and hepatic disease (p=<0.001, 0.022, 0.005 and 0.031, respectively). Whereas, factor significantly influencing behavior of paracetamol use was education level (p=0.012). In addition, no statistical association between knowledge and behavior of paracetamol use.

Conclusion: Residents of Nawamin sub-district, Bueng Kum district, Bangkok had moderate level of knowledge. Some of them had inappropriate practice of behavior regarding paracetamol usage. Pharmacist should play a role in correcting inaccurate knowledge and understanding and try various strategies to change behaviors so that people can use paracetamol correctly and reasonably.

Keywords: knowledge; behavior; paracetamol usage

Downloads

Published

2021-10-01

Issue

Section

Original Articles