ความรู้ ประสบการณ์ และอุปสรรคในกระบวนการจัดการวางแผนดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้า สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ของแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัว

Authors

  • Passorn Rotpenpian Department of Family Medicine, Faculty of Medicine, Thammasat University
  • Petcharat Bunnug Department of Family Medicine, Faculty of Medicine, Thammasat University
  • Sawanee Tengrunsun Department of Community Medicine, Faculty of Medicine, Thammasat University

Abstract

Knowledge, Experiences  and  Barriers   in Advance  Care Plan for  Terminal Cancer  Patients  of  Family Medicine Residents
Passorn Rotpenpian1*, Petcharat Bunnug1, Sawanee Tengrunsun2
1
Department of Family Medicine, Faculty of Medicine, Thammasat University.
2 Department of Community Medicine, Faculty of Medicine, Thammasat University.

 

Received: 15 February 2021 / Accepted: 21 May 2021 / Publish online:

 

Corresponding author: Passorn Rotpenpian, Department of Family Medicine, Faculty of Medicine, Thammasat University, Thailand, 12120. E-mail: aamsorn@gmail.com

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายพบมากขึ้น การดูแลแบบประคับประคองจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้า ซึ่งแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวเป็นกลุ่มสำคัญในทีมรับปรึกษาการดูแลแบบประคับประคอง ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความรู้ และศึกษาประสบการณ์ อุปสรรคของแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัวในประเทศไทยในกระบวนการจัดการวางแผนดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
วิธีการศึกษา:
เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน ศึกษาในแพทย์ประจำบ้านที่กำลังฝึกอบรมในหลักสูตรเพื่อวุฒิบัตรฯ สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ปีการศึกษา 2562 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาใช้เป็น total population เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ และสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล โดยใช้วิเคราะห์ข้อมูลตามเนื้อหา
ผลการศึกษา: แพทย์ประจำบ้านเข้าร่วมตอบแบบสอบถามจำนวน 78 ราย  ร้อยละ 94.87 มีความรู้ในระดับดี และร้อยละ 83.3 มีอุปสรรคในการทำกระบวนการจัดการวางแผนดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้า อุปสรรคได้แก่ การพยากรณ์ของโรคที่ไม่แน่ชัด ครอบครัวของผู้ป่วย และแพทย์เจ้าของไข้ ตามลำดับ มีแพทย์ประจำบ้านจำนวน 7 คนเข้าร่วมการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล พบว่าแพทย์ประจำบ้านได้ตระหนักและเรียนรู้อุปสรรคที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก รวมถึงเห็นคุณค่าของตนเองระหว่างกระบวนการจัดการ

สรุป: แพทย์ประจำบ้านมีความรู้ในการทำการวางแผนดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอยู่ในระดับดี  แต่ละรายมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งที่เกื้อหนุน และที่บั่นทอนต่อกระบวนการ นอกจากนี้ได้สร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับกระบวนการการทำการวางแผนดูแลตัวเองล่วงหน้า (advance care plan) ในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โดยบุคลากรทางการแพทย์

 

คำสำคัญ: การวางแผนดูแลตัวเองล่วงหน้า; ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย; ความรู้; อุปสรรค; แพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัว

 

Abstract

Background and Objectives : Nowadays number of the terminal cancer patients are increasing. Palliative care is going to be a major role, especially advance care plan. The family medicine resident is an important part of the members in the palliative care team. The aims of this study were to explore the knowledge, experiences and barriers   in advance care plan for  terminal cancer  patients  of  family medicine residents.

Methods: This was a mixed method study. Using the questionnaire was conducted among the doctors who were in residency training in family medicine in the year 2019 and this data were analyzed by statistical method.  Semi-structured interview with purposive sampling was conducted and the data were analyzed using content analysis.

Results: 78 respondents answered the questionnaire. The 94.87 percentage of these were in a good level of the knowledge and the 83.3 percentage of these had the barrier among this process. The most barrier was the imprecise prognosis of the disease, the patient’s family and the primary doctors, respectively. A sample of 7 family medicine residents complying with the inclusion criteria were recruited and interviewed. They were more acknowledged about advance care plan in the terminal care patients and learnt about obstacles within themselves.

Conclusion: There was a good level of knowledge in advance care plan for  terminal cancer  patients  of  family medicine residents. Each of them was the different experience, both enhancers and barriers, in advance care plan for  terminal cancer  patients.   A new model of advance care planning in the terminal cancer patients by health care providers is established from this research

Keyword: advance care plan; terminal cancer patients; knowledge; barriers; family medicine residents

Downloads

Published

2021-10-01

Issue

Section

Original Articles