การกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล ของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์

Authors

  • Chutima Tianthong Palliative Nursing Unit, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Sriveing Pirojkul Karunruk Palliative Care Center, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Parichart Piasupan Palliative Nursing Unit, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Abstract

 

Readmission of Palliative Patients at Karunruk Palliative Care Center, Srinagarind Hospital

Chutima Tianthong1*, Sriveing Pirojkul2, Parichart Piasupan1

1 Palliative Nursing Unit, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

2 Karunruk Palliative Care Center, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Received:  28 September 2020 / Accepted:  19 April 2021 / Publish online:

Corresponding author: Chutima Tianthong, Palliative Nursing Unit, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University. E-mail: chutti@kku.ac.th

 

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: การกลับเข้ามารักษาซ้ำในโรงพยาบาล ส่งผลกระทบโดยรวมต่อการดูแลแบบประคับประคองและครอบครัว ที่ผ่านมาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ยังไม่เคยมีการค้นหาสาเหตุ และวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยกลุ่มนี้มาก่อน ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาหาสาเหตุ เพื่อนำไปสู่การลดการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยกลุ่มนี้ และพัฒนาคุณภาพการดูแลแบบประคับประคองและครอบครัวต่อไป

 วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบย้อนหลังจากเวชระเบียน บันทึกการดูแล และระบบสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่าง คือ เวชระเบียนการดูแลแบบประคับประคอง ที่ขอรับบริการจากศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561 จำนวน 39 ราย วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ด้วยความถี่ ร้อยละ

ผลการศึกษา: พบว่า การดูแลแบบประคับประคองที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง จำนวน 39 ราย กลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล ทั้งหมด 63 ครั้ง จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบปัญหาแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านร่างกายผู้ป่วย ส่วนใหญ่กลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลด้วยปัญหาเดิม ได้แก่ อาการปวด คิดเป็นร้อยละ 45.23 ปัญหาใหม่จากภาวะแทรกซ้อน ปอดติดเชื้อ คิดเป็นร้อยละ 13.80 ภาวะฉุกเฉิน จากกระดูกไขสันหลังทับเส้นประสาท และหลอดเลือดดำส่วนบนอุดกั้น คิดเป็นร้อยละ 3.45 2) ด้านครอบครัว เกิดจากครอบครัวยังคาดหวังต่อการรักษา คิดเป็นร้อยละ 10.26 และผู้ดูแลมีภาวะความเหนื่อยล้า คิดเป็นร้อยละ 5.13  3) ด้านการตัดสินใจและการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ครอบครัวยังต้องการการรักษาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในวาระท้ายอย่างเต็มที่ คิดเป็นร้อยละ 43.59 และปฏิเสธการสื่อสารแผนการดูแลล่วงหน้าไว้แต่ต้น คิดเป็นร้อยละ 7.69

สรุป: การกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคระยะท้าย มีสาเหตุมาจากทั้งด้านผู้ป่วย ด้านครอบครัว และการตัดสินใจในเรื่องการสื่อสารเพื่อวางแผนดูแลล่วงหน้า ดังนั้น ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ในการนำไปวางแผนในการดูแลและพัฒนาระบบการให้บริการการดูแลแบบประคับประคองและครอบครัวให้มีคุณภาพต่อไป

คำสำคัญ: การกลับมารักษาซ้ำ; การดูแลแบบประคับประคอง

Abstract

Background and objective: Unplanned hospital readmissions provide a huge impact on palliative care patients and their families. Causes and problematics analysis were not performed before, thus the authors are interested to study in these aspects and use the results from this research to improve quality of care in palliative population.

Methods: A retrospective study of unplanned readmission of palliative patients was performed at Srinagarind hospital, Thailand. The data of 39 patients were collected from 1 October 2017 to 31 September 2018.

Results: This study includes 63 readmissions from 39 patients.  Causes of readmission were divided into 3 groups. The first group was patient physical problems, that include recurrent pain problem 45.23%, new aspiration pneumonia 13.80% and emergency condition such as spinal cord completion and superior vena cava obstruction 3.45%. The second group was family problems, that include over expectation from treatment 10.26% and caregiver burdens 5.23%. The third group was at advance care planning (ACP) problems, that include full treatment ACP 43.59% and undecided ACP 7.69%.

Conclusion: Causes of readmission are patients’ physical, family and ACP problems. Some problems are appropriate to readmission for treatment. On the other hand, a large number of readmission can be reduced by good palliative home care service and a better communication.

Keyword : recurrence; Palliative care

Downloads

Published

2021-10-01

Issue

Section

Original Articles