ผลของการติดสมาร์ทโฟนต่อสุขภาพและผลการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนแห่งหนึ่งใน อ.องครักษ์ จ.นครนายก

Authors

  • Wannakon Chuemongkon Department of Clinical Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University
  • Naruedee Boonnaruetee Department of Clinical Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University
  • Tipakarn Mothaniyachat Department of Clinical Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University

Abstract

Effects of Smartphone Addiction on Health and Academic Performance of High School Students in Ongkharak District, Nakhon Nayok Province

Wannakon Chuemongkon*, Naruedee Boonnaruetee, Tipakarn Mothaniyachat

Department of Clinical Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University 26120

Received: 19 January 2021 / Accepted: 12 May 2021 / Publish online:

Corresponding author: Wannakon Chuemongkon, Department of Clinical Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University 26120. E-mail: wannakon@g.swu.ac.th

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันเด็กและเยาวชนไทยมีพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการติดสมาร์ทโฟนต่อสุขภาพและผลการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนแห่งหนึ่งใน อ.องครักษ์ จ.นครนายก

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ข้อมูลด้านการใช้สมาร์ทโฟน ดัดแปลงจาก Thai version of smartphone addiction scale short version (SAS-SV) 3) ข้อมูลสุขภาพทางกาย ดัดแปลงจากเครื่องมือประเมินสุขภาพกายของ Chuemongkon และคณะ 4) ข้อมูลสุขภาพจิต ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า ใช้แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก Children’s Depression Inventory (CDI) ฉบับภาษาไทย และภาวะวิตกกังวล ใช้แบบประเมินความวิตกกังวล Self-Rating Anxiety Scale (SAS) ฉบับภาษาไทย

ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 432 ราย ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 59.3) เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 14.6 ปี ระยะเวลาที่ใช้สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่คือ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน ความถี่ในการใช้สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่คือ 11-20 ครั้งต่อวัน และพบว่านักเรียนร้อยละ 42.1 ติดสมาร์ทโฟน เมื่อวิเคราะห์ผลการติดสมาร์ทโฟนต่อสุขภาพและผลการเรียน พบว่าการติดสมาร์ทโฟนมีผลต่อสุขภาพกายโดยรวมสุขภาพกายด้านสายตา และสุขภาพกายด้านการได้ยิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = <0.001, 0.020 และ 0.001 ตามลำดับ) และการติดสมาร์ทโฟนมีผลต่อภาวะซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001 และ 0.003 ตามลำดับ) แต่การติดสมาร์ทโฟนไม่มีผลต่อผลการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: การติดสมาร์ทโฟนมีผลต่อสุขภาพกายโดยรวม และสุขภาพจิตด้านภาวะซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล แต่ไม่มีผลต่อผลการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนแห่งหนึ่งใน อ.องครักษ์ จ.นครนายก

คำสำคัญ: การติดสมาร์ทโฟน; สุขภาพกาย; สุขภาพจิต; ผลการเรียน; นักเรียนระดับมัธยมศึกษา

Abstract

Background and Objectives: The smartphone usages in Thai children and adolescent have been increasing nowadays, and these modern lifestyles could cause negative effects in everyday life. Accordingly, this cross-sectional descriptive study aimed to evaluate the impact of smartphone addiction on health and academic performance of high school students in Ongkharak, Nakhon Nayok.

 Methods: A cross-sectional descriptive study was performed by using online questionnaires which consisted of four parts including 1) general data of participants, 2) smartphone usage data using adapted questionnaires from the Thai version of smartphone addiction scale short version (SAS-SV), 3) physical health data using adapted questionnaires from Chuemongkon’s physical health assessment, and 4) mental health data using Thai version of the Children’s Depression Inventory (CDI) for depression data and Thai version of the Self-Rating Anxiety Scale (SAS) for anxiety data.

Results: This study was conducted in 432 participants. Most of them (59.3%) were girls and mean age of 14.6 years old. The duration and frequency of smartphone using of most participants were 3-4 hours/day and 11-20 times/day, respectively. The results revealed that 42.1% of students were smartphone addiction. The impact of smartphone addiction on health and academic performance showed that smartphone addiction was related to overall physical health, visual health, hearing health, depression and anxiety (p = <0.001, 0.020, 0.001, 0.001 and 0.003, respectively). There was no effect of smartphone addiction on academic performance.

Conclusion: The smartphone addiction impacted on overall physical health and mental health, including depression and anxiety but it had no effect on academic performance of high school students in Ongkharak, Nakhon Nayok.

Keywords: smartphone addiction; physical health; mental health; academic performance; high school students

Downloads

Published

2021-10-01

Issue

Section

Original Articles