ความเครียด ความกังวล และผลกระทบของบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลศรีนครินทร์
Abstract
Stress Worry and Effects among Health Personnels during Pandemic of Coronavirus Disease 2019 in Srinagarind Hospital
Pornnipa Harnlakorn1*, Tharinee Phetcharat1, Nipharphan Rithirod1, Sudthanom Kamollerd1, Thurnjai Pitayavatanachai1, Atibordee Meesing21 Nursing Division, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
2 Department of Medicine, Faculty of Medicine, Srinagarind Hospital, Khon Kaen University
*Corresponding author : Pornnipa Harnlakorn, Nursing Division, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University. E-mail: porhar@kku.ac.th pornhan@yahoo.com
หลักการและเหตุผล: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ มีการแพร่ระบาดขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย เสียชีวิตของประชากรทั่วโลกจำนวนมากและทำให้เกิดการหยุดชะงักด้านสังคม-เศรษฐกิจอย่างไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียด ความกังวล และผลกระทบของบุคลากรทางการแพทย์ต่อสถานการณ์ระบาดโรคโควิด-19
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มทั้งหมด 293 ราย เก็บข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 - 30 พฤษภาคม 2563
ผลการศึกษา: บุคลากรทางการแพทย์ 293 ราย ส่วนใหญ่มีความเครียดและกังวลระดับกลาง ร้อยละ 48.8 และ 59.4 พยาบาลมีความเครียดและกังวลสูงกว่าแพทย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.012, p=0.001) เพศหญิงมีความเครียดสูงกว่าเพศชาย (p=0.008) แต่ความกังวลไม่แตกต่างจากเพศชาย (p = 0.190) ผลกระทบของโควิด-19 ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงร้อยละ 46.7 ส่วนใหญ่ร้อยละ 82.3 ยังจงรักภักดีต่อองค์กร ไม่ต้องการย้ายงาน
สรุป: โรงพยาบาลควรเพิ่มความเข้มแข็งให้บุคลากรเหล่านี้โดยจัดฝึกอบรมให้มีความรู้ และทักษะในการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 จัดหาอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ให้เพียงพอ ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษในภาวะสุขภาพจิตของพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์เพศหญิง
คำสำคัญ: ความเครียด; ความกังวลของบุคลากรทางการแพทย์: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019; โรคติดเชื้อโควิด-19
คำสำคัญ: ความเครียด; ความกังวลของบุคลากรทางการแพทย์: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019; โรคติดเชื้อโควิด-19
Keyword: stress; worry, health personnel; coronavirus disease 2019; COVID-19
Background and Objective: Coronavirus 2019 (COVID -19) is a fast spreading novel infectious disease of global pan-dermic status. Its Global illness and death burden has caused unprecedented socio-economic disruption. This study aimed to examine stress worry and effect among health personnel during pandemic of Coronavirus Disease 2019
Methods: This research was a cross-sectional descriptive study in Srinagarind hospital. A sample of 293 health personnel was clustered sampling selected. Data were collected from 1 to 30 May, 2020.
Results: 293 health personnel. The majority of health personnel reported stress and worry at a moderate level, 48.8% and 59.4% respectively. Nurses were found to be higher than doctors, significant difference were observed on stress and worry. ( p=0.012, p=0.001, respectively). Females were found to be higher than males, significant difference were observed on stress (p=0.008) but did not differ significantly on worry (p=0.190). Effect of COVID-19 on quality of life, 46.7% felt COVID-19 had effected their quality of life (QOL). The majority (82.3%) of these personnel showed their loyalty to organization, did not consider moving to another job.
Conclusions: Hospital should strengthen the training of knowledge, skill of treatment and care of COVID-19 patients for these personnel and provide adequate equipment for protecting COVID-19. Special attention should be paid to the mental health of nurses and female health personnel.
Keyword: stress; worry, health personnel; coronavirus disease 2019; COVID-19