ภาวะไขสันหลังบาดเจ็บล่าช้าที่เกิดตามหลังในผู้ป่วยถูกกระแสไฟฟ้าแรงสูงบริเวณศีรษะ ในโรงพยาบาลขอนแก่น: รายงานผู้ป่วย

Authors

  • Phonnapas Sukprasert Department of Surgery, Khon Kaen Hospital

Abstract

Delayed Spinal Cord Injury after Electrical Burn of the Head in Khon Kaen Hospital: Case Report

Phonnapas Sukprasert

Department of Surgery, Khon Kaen Hospital

Received: 9 May 2021 / Accepted: 16 June 2021 / Publish online:

 

Tye_b_rabbit@hotmail.com Tel. 084-515-3260

 

หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทไขสันหลังที่เกิดตามการบาดเจ็บจากกระแสไฟฟ้าแรงสูง ยังมีรายงานและการศึกษาผู้ป่วยลักษณะนี้ในประเทศจำนวนน้อย ทั้งนี้การบาดเจ็บจากกระแสไฟฟ้าแรงสูงนั้นก่อให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงและมีภาวะทุพพลภาพตามมาสูง มีอาการแขนขาอ่อนแรงได้ และส่วนใหญ่หากเริ่มแสดงอาการช้า จากวันที่ได้รับบาดเจ็บ โอกาสที่ผู้ป่วยจะหายเป็นปกติจะลดน้อยลง  ผู้วิจัยจึงต้องการที่จะทำการวิจัยและติดตามอาการแสดงดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วยลักษณะนี้ต่อไป ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะอาการแสดง การดำเนินของพยาธิสภาพ ของการบาดเจ็บทางระบบประสาทไขสันหลังที่เกิดแบบล่าช้า ตามหลังจากการได้รับอุบัติเหตุถูกกระแสไฟฟ้าเข้าที่บริเวณศีรษะ

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยแบบลักษณะ รายงานผู้ป่วย (Case report study)โดยนำข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ในหอผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก โรงพยาบาลขอนแก่น

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยชายอายุ 18 ปี บาดเจ็บจากถูกกระแสไฟฟ้าแรงสูงเข้าที่ศีรษะ หมดสติ ณ ที่เกิดเหตุ มีแผลไหม้ที่บริเวณศีรษะ ไหล่ซ้าย แขนซ้าย และเท้าทั้งสองข้าง แรกรับหลังจากรู้สติ ทำตามสั่ง ไม่มีอาการแขนขาอ่อนแรง ผู้ป่วยเริ่มมีอาการขาสองข้างอ่อนแรง ยกไม่ขึ้น ในวันที่ 7 ให้หลังจากการบาดเจ็บ เริ่มมีแขนอ่อนแรงตามมา ส่งตรวจเพิ่มเติม CT scan และ MRI spine ไม่มีพยาธิสภาพที่อธิบายอาการอ่อนแรงดังกล่าว ผู้ป่วยได้รับการรักษาเรื่องแผลไหม้ตามร่างกายด้วยการผ่าตัดและปิดแผล และให้การดูแลเรื่องกายภาพแขนและขาทุกวันอย่างต่อเนื่อง นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 64 วัน และออกจากโรงพยาบาล เพื่อทำกายภาพต่อเนื่องที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน ติดตามอาการที่เวลา 8 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล อาการอ่อนแรงของแขนเป็นปกติ  อาการอ่อนแรงของขาดีขึ้น ยืนได้แบบค้ำยัน แต่ยังไม่สามารถเดินได้เป็นปกติ

สรุป: ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทไขสันหลังภายหลังการได้รับบาดเจ็บถูกกระแสไฟฟ้าแรงสูง สามารถแสดงอาการได้ทั้งในลักษณะฉับพลันทันที และอาจเกิดตามหลังแบบล่าช้าการรักษาภาวะดังกล่าวยังไม่มีแนวทางหรือข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยยาที่แน่ชัด ส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการและประคับประคองอาการ ร่วมกับการกายภาพอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ

คำสำคัญ: ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทไขสันหลัง; บาดเจ็บถูกกระแสไฟฟ้าแรงสูง; โรงพยาบาลขอนแก่น

 

Background and Objective: High-voltage electrical burn associated delayed spinal cord injury is a very low incidence with only few citations and reports. Although the sequelae is not a lift-threatening complication but can be devastating and the morbidity is high. In case with presentation is delayed for several days to weeks after the initial injury, recovery is not the rule. Clinical follow up with aggressive rehabilitation is essential for a successful of recovery. This study aimed to study clinical onset, pattern of neurological symptom and to study the recovery pattern in high voltage electrical injury leading to delayed spinal cord complication.

Materials and Method: Report the case of 18-year-old Thai man who experienced a high-voltage electrical injury of the head resulting in clinical myelopathy with quadriparesis in ascending pattern.

Results: An 18-year-old Thai man sustained a high-voltage-electrical injury to his head and was unconscious at the scene. He had burns to his head, left shoulder, left arm and both feet. Initially, he had no limb weakness. On the 7th day after injury, he was observed to move his legs less than his arms. Ct scan and MRI spine showed no pathology to describe the weakness. He received multiple skin graft and scalp rotational flap to coverage the burn wound and provide constant daily rehabilitation of all four limbs in 64 days in hospital. After neurological follow up at 8 months after the initial injury, motor power of the upper extremities are fully recovery (motor power gr V) and the lower extremities are improve (motor power grade II to grade III).

Conclusion: High-voltage electrical injuries are a serious problem with potential for both immediate and delayed spinal cord sequelae. Multidisciplinary management with long term follow up is required.

Keywords: Delayed spinal cord injury; High-voltage electrical burn; Khon Kaen Hospital

Downloads

Published

2021-10-01

Issue

Section

Case report