ผลลัพธ์การเยี่ยมบ้านผ่านระบบแพทย์ทางไกลในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : การศึกษาย้อนหลัง

Authors

  • Paengpan Sribunlue Palliative Nursing Unit, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Parichart Piasupan Palliative Nursing Unit, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Natchaya Bualakorn Palliative Nursing Unit, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Sriveing Pirojkul Karunruk Palliative Care Center, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Abstract

Outcome of Palliative Patients who Received Telemedicine Home Visits During the COVID-19 Pandemic : A Retrospective Study

หลักการและวัตถุประสงค์: ศูนย์การุณรักษ์  โรงพยาบาลศรีนครินทร์  ได้บูรณาการระบบการเยี่ยมบ้านโดยใช้ระบบแพทย์ทางไกลขึ้นหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปี พ.ศ.2563  การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การเยี่ยมบ้านผ่านระบบแพทย์ทางไกลในการดูแลผู้ป่วยแบบ ประคับประคองในสถานการณ์ดังกล่าว

วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบย้อนหลังจากเวชระเบียน บันทึกการดูแล และระบบสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่าง คือ เวชระเบียนผู้ป่วยแบบประคับประคองที่ได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านผ่านระบบแพทย์ทางไกลในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  จากศูนย์การุณรักษ์ คำนวณกลุ่มตัวอย่าง ได้ จำนวน 73 ราย วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ และร้อยละ

ผลการศึกษา: พบว่า ผลลัพธ์ด้านการบรรเทาอาการไม่สุขสบายของผู้ป่วยที่ได้รับการเยี่ยมบ้านผ่านระบบแพทย์ทางไกล ทำให้ผู้ป่วยที่มีความปวดระดับปานกลางถึงรุนแรง มีระดับคะแนนลดลง ≥ ร้อยละ 50 ภายใน 24-48 ชั่วโมง จำนวน 31ราย (ร้อยละ91.17)   และกลุ่มที่มีเฉพาะอาการหายใจลำบากระดับปานกลางถึงรุนแรง  มีระดับคะแนนลดลง ³  ร้อยละ 50 ภายใน 24-48 ชั่วโมง จำนวน 29 ราย (ร้อยละ 96.67 ) ส่วนผลลัพธ์ด้านการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล พบว่าลดการกลับมารักษาซ้ำได้ จำนวน 50 ราย (ร้อยละ 68.49)

สรุป: การเยี่ยมบ้านผ่านระบบแพทย์ทางไกลในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยที่ได้รับการดูแบบแบบประคับประคอง จึงควรนำระบบดังกล่าวไปใช้ต่อไปเพื่อลดปวด ลดอาการหายใจลำบากและลดการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล

คำสำคัญ: การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง; การเยี่ยมบ้านผ่านระบบแพทย์ทางไกล

Abstract

Background and objective: Karunruk Palliative Care Center,  Srinagarind Hospital  integrated a home visit system by implementing telemedicine after the Coronavirus disease 2019 epidemic in 2020. This research aimed to study the outcome of palliative patients who received telemedicine home visits in such situations.

Methods: A retrospective study of outcome of palliative patients who received telemedicine home visits  during the COVID-19 pandemic was performed at Srinagarind hospital. The data of 73 patients were collected and analyzed using descriptive statistics.

Results: The results showed that 31 patients (91.17%)  with moderate to severe pain scales decreased ≥ 50% within 24-48 hours, 29 patients (96.67%)  with moderate to severe dyspnea scales decreased ≥ 50% within 24-48 hours, and reduced  readmission for  50 patients (68.49%).

Conclusion: A telemedicine home visits  during the COVID-19 pandemic leading to good outcomes for patients  who received palliative care.  Therefore, the system should be used further for reduced pain, dyspnea, and readmission.

Keywords: Palliative care; Telemedicine

Downloads

Published

2022-04-27

Issue

Section

Original Articles