การให้บริการฟื้นฟูทางไกลสำหรับผู้ป่วยกลืนลำบาก

Authors

  • Chompilai Nuntharuksa Rehabilitation outpatient clinic, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Samerduen Kharmwan Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Pajeemas Kittipanya-ngam Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Pattra Wattanapan Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Abstract

Telerehabilitation for Dysphagia Patients

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์:  ผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพการกลืนอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน แต่การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางมาโรงพยาบาลได้ ดังนั้นจึงได้นำการฟื้นฟูทางไกลมาใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของการฟื้นฟูทางไกลสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก

วิธีการศึกษา:  ผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกการกลืน ห้องตรวจเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ตั้งแต่ เดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 ได้รับบริการผ่านทางระบบการแพทย์ทางไกล จากนั้นผู้ป่วยและผู้ดูแลรวมถึงแพทย์ผู้ให้บริการได้รับการสัมภาษณ์เกี่ยวกับความพึงพอใจและความเห็นต่อการให้บริการรูปแบบการแพทย์ทางไกล

ผลการศึกษา:  ผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากมีจำนวน 7 ราย ชาย 4 ราย หญิง 3 ราย ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 60 ปี วุฒิการศึกษาส่วนใหญ่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ผู้ป่วยส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองแตก  ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความพึงพอใจมากในระบบการฟื้นฟูทางไกลมากร้อยละ 95 เนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่าย ลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค และรู้สึกมั่นใจในแนวทางการฟื้นฟูสภาพการกลืน

สรุป:  ผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากมีความพึงพอใจในระบบบริการการฟื้นฟูทางไกลในระดับมาก ร้อยละ95 การฟื้นฟูทางไกลช่วยให้ผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากสามารถเข้าถึงบริการได้สะดวกขึ้น

คำสำคัญ: ภาวะกลืนลำบาก, การฟื้นฟูทางไกล, การแพทย์ทางไกล

Background and objectives:   Patients with dysphagia requires continued swallowing rehabilitation to prevent complications. The COVID-19 outbreak has prevented patients from coming to the hospital. Therefore, telerehabilitation was used to deliver service for patients with dysphagia. This study aimed to determine the satisfaction of patients with dysphagia for telerehabilitation.

Methods: Patients with dysphagia at dysphagia clinic, outpatient clinic of Rehabilitation Medicine, Srinagarind hospital from April- June 2020. All patients were received telerehabilitation service. After that, patients and their caregivers, as well as physicians, were interviewed about their satisfaction and opinions on the telerehabilitation service.

Results :  There were 7 patients with dysphagia, 4 males, 3 females, most of them were over 60 years of age. Most of them suffered from hemorrhagic stroke. More than 95% of patients and caregivers satisfied with the telerehabilitation in high level because of cost saving and reduce the spreading of coronavirus. Moreover, they also feel confident in the dysphagia management.

Conclusion :  Patients with dysphagia had a high level of satisfaction with the telerehabilitation service system. The telerehabilitation may promote the accessibility to the rehabilitation services.

Keyword: Telerehabilitation, Dysphagia, Dysphagia Clinic

Downloads

Published

2022-04-29

Issue

Section

Original Articles