Complications of Advanced Maternal Age Pregnancy: A Retrospective Cohort Study

Authors

  • ชัชนาวดี ณ น่าน โรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
  • ศรีสุดา ทรงธรรมวัฒน์ กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี
  • เอื้อมพร สุ่มมาตย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • เมธา ทรงธรรมวัฒน์ กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี

Abstract

ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ในมารดาอายุมาก: การศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง

ชัชนาวดี ณ น่าน1*, ศรีสุดา ทรงธรรมวัฒน์2, เอื้อมพร สุ่มมาตย์3, เมธา ทรงธรรมวัฒน์2

1 โรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

2กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี

3คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาร้อยละของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก (> 35 ปี) และอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่อเทียบกับมารดาอายุ 20-34 ปี

วิธีการศึกษา: การศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง ในมารดาที่มาคลอดที่โรงพยาบาลเพ็ญและอุดรธานี  ระหว่างเดือน มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2564 ทำการเก็บข้อมูลจากบันทึกเวชระเบียน  และวิเคราะห์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ถดถอยสัมพันธ์แบบปัจจัยเดียวและพหุปัจจัย    

ผลการศึกษา: พบมีมารดาอายุมากจำนวน 1,719 ราย จากผู้คลอด 9,330 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.42  ในกลุ่มมารดาอายุมากพบร้อยละ 57.01 มีภาวะแทรกซ้อนหนึ่งอย่างขึ้นไป โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยสุดได้แก่ การคลอดก่อนกำหนด (ร้อยละ 15.30) และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (ร้อยละ 13.03)  โดยพบว่าภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์, ครรภ์เป็นพิษ, และทารกน้ำหนักตัวมากกว่าหรือเท่ากับ 4000 กรัม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่า adjusted Odds ratio 2.91 เท่า (95%CI 2.35-3.58), 1.33 เท่า (95%CI 1.08-1.64) และ 1.51 เท่า (95% CI 1.08-2.10) ตามลำดับ

สรุป: พบความชุกของมารดาอายุมาก ร้อยละ 18.42 ของผู้มาคลอดทั้งหมด และมารดาในกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์, ครรภ์เป็นพิษ, และทารกน้ำหนักตัวมากกว่าหรือเท่ากับ 4000 กรัม จึงควรเพิ่มการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวเพิ่มเติมในมารดากลุ่มนี้

Objective: To study the percentage of advanced maternal age pregnancy (>35 years) and the pregnancy complications when compare with 20-34 years old group. 

Materials and Methods: A retrospective cohort study in the women who delivered in Phen and UdonThani Hospitals during January 2019 to August 2021. The medical records were retrospectively reviewed, then the descriptive statistics, univariate and multiple logistic regression analysis were performed.

Results: The advanced maternal age pregnancy were 1,719 cases/ 9,330 total deliveries (18.42%).  In this group, 57.01% had one or more complications. The most common were preterm delivery (15.30%) and gestational diabetes (13.03%). The risk of gestational diabetes, preeclampsia, and fetal macrosomia were increased in the advanced maternal age group when compared with 20-34 years old group with the adjusted Odds ratio 2.91 (95%CI 2.35-3.58), 1.33 (95%CI 1.08-1.64) and 1.51 (95% CI 1.08-2.10), respectively.

Conclusion:  The prevalence of advanced maternal age was 18.42% of total deliveries. The risk of gestational diabetes, preeclampsia, and fetal macrosomia were increased in this group. Therefore, these complications should be aware in this maternal age group.

Downloads

Published

2022-06-30

Issue

Section

Original Articles