Patient’s Perceptions on Complications and Practices When Receiving Spinal Anesthesia in Songklanagarind Hospital

Authors

  • ระพีพัชร หิรันย์ณรงค์ สาขาวิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • มลิวัลย์ ออฟูวงศ์ สาขาวิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • ปัณณวิชญ์ เบญจวลีย์มาศ สาขาวิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

Abstract

การรับรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนและการปฏิบัติตัวเมื่อได้รับการระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์

ระพีพัชร  หิรันย์ณรงค์*, มลิวัลย์  ออฟูวงศ์, ปัณณวิชญ์  เบญจวลีย์มาศ

สาขาวิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

หลักการและวัตถุประสงค์:  การระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังทำให้ผู้ป่วยมีความวิตกกังวล เนื่องจากบริเวณลำตัวช่วงล่างมีอาการชา ขยับไม่ได้ บางรายมีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย เรื่องของการรับรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนและการปฏิบัติตัวเมื่อได้รับการระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ประชากรเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วนและได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลังในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์เดือนมี.ค. 2564- ม.ค. 2565 จำนวน 410 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ระดับคะแนนการรับรู้ในการปฏิบัติตัวและภาวะแทรกซ้อน เกณฑ์การให้คะแนน 5 ระดับ ตรวจหาความน่าเชื่อถือของเครื่องมือโดยวิธีครอนบาคอัลฟ่า ค่าความน่าเชื่อถือที่ 0.93

ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยการรับรู้การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยอยู่ในระดับดีมาก (4.51 ± 1.00) การปฏิบัติตัวที่มีคะแนนการรับรู้สูงสุดคือการงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนทำหัตถการ (4.86 ± 0.45) การปฏิบัติตัวที่มีคะแนนการรับรู้ต่ำสุดคือ การห้ามวางของร้อนหรือสัมผัสของมีคมบริเวณร่างกายที่ชา (3.89 ± 1.37) การรับรู้ภาวะแทรกซ้อนมีคะแนนการรับรู้เฉลี่ยอยู่ในระดับดี (4.43 ± 1.08) คะแนนการรับรู้สูงสุดคือทราบว่าเมื่อมีอาการปวดสามารถขอยาแก้ปวดได้ (4.81 ± 0.64) คะแนนการรับรู้ต่ำคือทราบว่าอาจเกิดอาการหนาวสั่น (4.14 ± 1.22)

สรุป: การรับรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนและการปฏิบัติตัวเมื่อได้รับการระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังในภาพรวมมีระดับสูง การรับรู้การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดเรื่องห้ามวางของร้อนหรือสัมผัสของมีคมบริเวณที่ชาและการรับรู้ภาวะแทรกซ้อนขณะอยู่ในห้องผ่าตัดเรื่องอาจมีอาการหนาวสั่นมีคะแนนน้อยที่สุด

Background and Objectives: Spinal anesthesia makes anxiety to the patients because of the numbness of the lower body as well as complications. The perception of complications has never been investigated. This study aimed to determine the level of perception of self-behavior and complications of patients when receiving spinal anesthesia.

Methods: A descriptive survey study was conducted in 410 patients underwent elective surgery and received spinal anesthesia between March 2021 to January 2022 at Songklanagarind Hospital.The questionnaire with 1- 5 Likert’s scale on the perception of self-behavior and complications was performed. The reliability of the tool was determined by the Cronbach method. Alpha coefficient reliability was 0.93

Results: The mean perception on self-behavior of spinal anesthesia was very good (4.51 ± 1.00). The highest perception score was the perception that food and water was not allowed for 8 hours (4.86 ± 0.45). The lowest score was the perception that sharp or hot objects should not be placed on the numb body (3.89 ± 1.37). The mean perception on complications of spinal anesthesia was good (4.43±1.08. The best score was the perception that pain killer could be requested (4.81 ± 0.64). The perception that shivering might be occurred had the lowest score (4.14 ± 1.22).

Conclusions: Overall the patient's perception of complications and self-behavior were high. The perception on postoperative self-behavior by avoiding to place hot objects or touch sharp objects on the numb body area and perception of shivering after spinal anesthesia were lowest score.

Downloads

Published

2022-06-30

Issue

Section

Original Articles