Protection Motivation and COVID-19 Preventive Behavior among People at Nong Pling Subdistrict Health Promoting Hospital, Mueang Nakhon Ratchasima District, Nakhon Ratchasima Province

Authors

  • Pitsanee Wichantuk Faculty of Public Health, Nakhon Ratchasima Rajabhat University
  • Theerapong Promjan Nong Pling Subdistrict Health Promoting Hospital

Abstract

แรงจูงใจในการป้องกันโรคและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ภิษณี วิจันทึก1*,      ธีระพงษ์ พรมจันทร์2                        

1คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

2โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลิง

หลักการและวัตถุประสงค์:  การระบาดของ COVID-19 หลายประเทศทั่วโลกส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกด้าน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการป้องกันโรค COVID-19 ระดับพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลิง

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน  378 ราย จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยสถิติ Multiple logistic regression

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ความรุนแรงของโรค COVID-19 การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค COVID-19  ความคาดหวังในผลลัพธ์ต่อการป้องกันโรค COVID-19 และความคาดหวังในความสามารถตนเองในการป้องกันโรค COVID-19 อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 65.6, 65.9, 65.1 และ 68.3 ตามลำดับ และมีพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 อยู่ในระดับดี ร้อยละ 55.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ในระดับดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป (AOR = 2.21, 95% CI = 1.08 – 4.49), การสูบบุหรี่ (AOR = 0.28, 95% CI = 0.11 – 0.70), การรับรู้ความรุนแรงของโรค COVID-19 (AOR = 16.51, 95% CI = 5.81 – 46.93), การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค COVID-19 (AOR = 3.97, 95% CI = 1.21 – 13.07), ความคาดหวังในผลลัพธ์ต่อการป้องกันโรค COVID-19 (AOR =  6.20, 95% CI = 2.11 – 18.23) และความคาดหวังในความสามารถตนเองในการป้องกันโรค COVID-19  (AOR =  3.79, 95% CI = 1.20 – 12.03)

สรุป: การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าแรงจูงในการป้องโรคทุกด้านมีความสัมพันธ์อย่างสูงกับพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 สิ่งที่น่าสังเกต คือ ผู้ที่สูบบุหรี่มีพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้และส่งเสริมแรงจูงใจในการป้องกันโรคที่ดีให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มวัยในชุมชน

Background and Objective: The COVID-19 pandemic have affected every aspect of people’s lifestyle. This study aimed to study the level of protection motivation towards COVID-19, COVID-19 preventive behaviours and the association between factors and COVID-19 prevention behaviors

Methods: This cross-sectional descriptive study consisted of 378 samples were obtained using a stratified sampling method. The research instruments were questionnaire. The data were analyzed by descriptive statistics and inferential statistics. The correlation analyzed by multiple logistic regression.

Results: The results revealed that the majority of samples had perceived severity, perceived susceptibility, response efficacy expectation, self-efficacy expectation of COVID-19 at high level, 65.6, 65.9, 65.1 and 68.3, respectively. In addition, 55.3% of samples also had a good level on the COVID-19 preventive behaviours. The factors statistically significant associated with the COVID-19 preventive behaviours included age at 40 year olds and over  (AOR = 2.21, 95% CI = 1.08 – 4.49), smoking (AOR = 0.28, 95% CI = 0.11 – 0.70),  perceived severity of COVID-19 (AOR = 16.51, 95% CI = 5.81 – 46.93), perceived susceptibility of COVID-19 (AOR = 3.97, 95% CI = 1.21 – 13.07), response efficacy expectation in COVID-19 (AOR =  6.20, 95% CI = 2.11 – 18.23) and self-efficacy expectation in COVID-19 prevention (AOR =  3.79, 95% CI = 1.20 – 12.03).

Conclusions: The results suggest that all aspect protection motivation were high significant associated with COVID-19 preventive behaviours. It is worth noting that, the COVID-19 preventive behaviours showed significant decrease among smokers. The related authorities should provide the knowledge and encourage the protection motivation to people of all age groups in community.

Published

2022-06-30

Issue

Section

Original Articles