Tube Excision in Extrusion of Glaucoma Drainage Device Tube: A Case Report

Authors

  • Kwanchanoke Kumsiang Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Thailand
  • Jitkhemanich Rattanaphurithanakul Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Thailand
  • Niphon Sayawat Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Thailand

Abstract

การผ่าตัดแก้ไขท่อโผล่ในผู้ป่วยต้อหินที่ใส่ท่อระบายน้ำในลูกตา: รายงานผู้ป่วย 1 ราย

ขวัญชนก คำเสียง1*, จิตต์เขมณิช รัตนภูริธนากุล1, นิพนธ์ สายวัฒน์1

1ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 หลักการและวัตถุประสงค์: การผ่าตัดใส่ท่อระบายน้ำในลูกตาเป็นการรักษาต้อหินที่มีความซับซ้อนซึ่งมีการรักษาอย่างแพร่หลาย อุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อระบายน้ำในลูกตาพบได้มากขึ้น ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผู้ป่วยที่ท่อระบายน้ำในลูกตาโผล่หลุดออกมาจากช่องหน้าม่านตา เสนอแนวทางการผ่าตัดแก้ไขโดยวิธีการตัดท่อระบายน้ำในลูกตาออก และเทคนิคการผ่าตัดเพื่อลดการเกิดท่อโผล่ซ้ำมาจากช่องหน้าม่านตา

วิธีการศึกษา: รายงานรายละเอียดผู้ป่วย 1 รายที่เป็นต้อหินที่มีปลายท่อท่อระบายน้ำในลูกตาโผล่หลุดออกมาจากช่องหน้าม่านตาและการทบทวนวรรณกรรมในอดีต

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยชาย 58 ปี วินิจฉัยเป็นต้อหินระยะรุนแรง ได้รับการผ่าตัดใส่ท่อระบายน้ำในลูกตาขวาเมื่อสองปีก่อน ตรวจพบปลายท่อระบายน้ำในลูกตาโผล่หลุดออกมาจากช่องหน้าม่านตา โดยยังไม่มีการติดเชื้อในลูกตา ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดโดยการตัดปลายท่อที่โผล่ และติดตามการรักษาที่ 2 และ 6 สัปดาห์ หลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ ไม่พบปลายท่อโผล่ ไม่พบการติดเชื้อในลูกตา แต่สัปดาห์ที่ 6 หลังการผ่าตัดพบว่าเริ่มมีท่อโผล่ออกจากเยื่อบุตาเล็กน้อยโดยที่ไม่มีลักษณะของการติดเชื้อ และท่อนั้นโผล่มากขึ้นจนถึงสัปดาห์ที่ 12 จึงพิจารณาไปตัดท่อที่โผล่อีกครั้ง ด้วยความยาวของการตัดที่มากขึ้น เพื่อให้ท่อส่วนต้นหดไปอยู่ใต้ต่อเยื่อตาขาวที่ปิดคลุมด้านบน และเย็บซ่อมเนื้อเยื่อตาขาวในตำแหน่งที่เป็นรูรั่ว และเย็บเยื่อตาขาวให้ติดแน่นกับเยื่อตาขาวคนไข้ เพื่อป้องกันการโผล่ซ้ำ ผลการผ่าตัดซ้ำหลังติดตามการรักษา สัปดาห์ที่ 1 ,2 และ 4 ไม่พบมีการโผล่ซ้ำและไม่พบลักษณะการติดเชื้อในตำแหน่งที่ผ่าตัด

สรุป: หากพบท่อโผล่ที่ยังไม่มีการติดเชื้อ อาจใช้การเฝ้าดูร่วมกับการหยอดยาปฏิชีวนะ รายงานนี้เสนอแนวทางรักษาด้วยการตัดปลายท่อที่โผล่  วิธีที่ดีที่สุดนั้นยังไม่สามารถสรุปได้ขณะนี้ ซึ่งรายงานนี้ได้นำเสนอวิธีการผ่าตัดเพื่อปิดตำแหน่งท่อโผล่ และเทคนิคการผ่าตัดเพื่อป้องกันการโผล่ซ้ำของท่อ

Background and Objectives: Glaucoma drainage devices have been widely used in management of complicated glaucoma. More incidence of complications of the devices have been reported. The aim of this study was to report a case with extrusion of glaucoma drainage device tube from anterior chamber and to present the surgical correction by excision of the tube.

Methods: Report a case of extrusion of glaucoma drainage device tube from the anterior chamber and review literatures.

Results: A 58-year-old male diagnosed with advanced glaucoma underwent glaucoma drainage device in the right eye 2 years ago. The extrusion of glaucoma drainage device tube from anterior chamber had been noted and no sign of infection was detected. The patient underwent tube excision and was followed for further exposure at 2 and 6 weeks. There was no tube exposure and sign of infection at 2 weeks. Unfortunately, there was minimal tube exposure at 6 weeks follow-up, but no sign of infection was detected but tube was further exposure at 12 weeks post-operation so the patient underwent second operation for tube excision with more lengthening than the first operation to made tube contraction under scleral patch graft covering. Scleral patch graft was suture fixed to patient’s sclera for prevention of re-exposure. The result of second operation at 1, 2 and 4 weeks follow-up was no re-exposure and sign of infection.

Conclusions: Exposed glaucoma drainage device tube with no sign of infection can be immediately treatment not only medications but also surgical revision to prevent infection. This report shows alternative management of exposed tube by excision of exposed tube and surgical technique to solve the cause of re-extrusion. However, additional studies are required to determine the proper management.

Downloads

Published

2022-06-30

Issue

Section

Case report