ค่าปกติของความสามารถทางกายในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคหนังแข็ง

Normal Values of Physical Performance in Thai Systemic Sclerosis Patients.

Authors

  • Kannika Srichompu Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Chingching Foocharoen Department of Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Thailand
  • Arthitaya Sangaroon The Scleroderma Research Group, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Thailand
  • Patpiya Sirasaporn Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Thailand

Abstract

ค่าปกติของความสามารถทางกายในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคหนังแข็ง

กรรณิการ์ สีชมภู1, ชิงชิง ฟูเจริญ2, อาทิตยา แสงอรุณ3, พัทธ์ปิยา สีระสาพร1

1ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย

2ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย

3กลุ่มวิจัยโรคหนังแข็ง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย

Normal Values of Physical Performance in Thai Systemic Sclerosis Patients.

Kannika Srichompu1, Chingching Foocharoen2, Arthitaya Sangaroon3, Patpiya Sirasaporn1

1Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Thailand

2Department of Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Thailand

3The Scleroderma Research Group, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Thailand

หลักการและวัตถุประสงค์: โรคหนังแข็งเป็นโรคที่พบอุบัติการณ์น้อย มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันหลายอย่าง ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยเป็นปัญหาทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ส่งผลให้ความแข็งแรง ความทนทานของกล้ามเนื้อ และความสามารถทางกายลดลง ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานค่าปกติของความสามารถทางกายในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคหนังแข็ง

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ในผู้ป่วยโรคหนังแข็งที่มารับบริการที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ถึง เมษายน พ.ศ. 2563 เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ เพศ อายุ การวินิจฉัย และความสามารถทางกาย รายงานผลในรูปแบบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคหนังแข็งจำนวน 180 ราย ส่วนใหญ่ได้รับการการวินิจฉัยเป็นโรคหนังแข็งชนิด  หนังแข็งกระจาย 112 ราย (ร้อยละ 62.2) เพศหญิง 116 ราย (ร้อยละ 64.4) ความสามารถทางกายเพศชาย และหญิง มีดังนี้ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบีบมือ 24.4 ± 7.5 และ 15.3 ± 5.5 กิโลกรัม  ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา 9.9 ± 2.7  และ 11.9 ± 3.9 วินาที  ความเร็วในการเดิน  1.6 ± 0.3  และ1.3 ± 0.3 เมตร/วินาที และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ -0.7 ± 8.9  และ 6.4 ± 8.3 เซนติเมตร ตามลำดับ

สรุป: ผู้ป่วยโรคหนังแข็งมีความสามารถทางกายใกล้เคียงกับผู้สูงอายุ ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีอาการโรครุนแรงมีความสามารถทางกายน้อยกว่าผู้มีอาการรุนแรงน้อย เนื่องจากการศึกษานี้ไม่มีกลุ่มควบคุมที่เป็นประชากรสุขภาพปกติเปรียบเทียบจึงไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าความสามารถทางกายในผู้ป่วยโรคหนังแข็งต่างจากประชากรทั่วไปหรือไม่เมื่ออายุและเพศใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามผลจากการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้วัดความสามารถทางกายเพื่อการติดตามการรักษา และวางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหนังแข็ง

คำสำคัญ: โรคหนังแข็ง, มวลกล้ามเนื้อน้อย, สมรรถภาพทางกาย

 

Background and Objective: Systemic sclerosis (SSc) is a rare connective tissue disease associated with a multisystem auto-immune involvement. Sarcopenia is a problem in musculoskeletal system effected to decrease muscle strength and endurance and reduce physical performance. The purpose of this study was to report normal values of physical performance in Thai systemic sclerosis patients.

Methods: A cross-sectional study was conducted in adult SSc patients who were followed-up at Srinagarind Hospital, Khon Kaen University, Thailand between July 2019 and April 2020. The variables including, age, gender, diagnosis and physical performance were assessed. Descriptive analysis was used to determine baseline characteristics mean and standard deviation.

Results: A total of 180 SSc patients were enrolled, of which were women 116 cases (66.4%). The majority of cases were diffuse cutaneous SSc (dcSSc) subset (112 cases; 62.2%). The mean age in men was 59.9 ± 8.1 and women was 57.8 ± 10.1 years. The respective mean  physical performance in men and women including, grip strength was 24.4 ± 7.5 and  15.3 ± 5.5 kg, functional lower extremity strength was 9.9 ± 2.7 and 11.9 ± 3.9 sec, gait speed was 1.6 ± 0.3 and 1.3 ± 0.3 m/secs  and flexibility was -0.7 ± 8.9  and 6.4 ± 8.3 cm.  

Conclusion: The SSc patients have similar physical performance in the elderly, while patients with severe symptom have lower physical performance than less severe symptom. Because of no healthy control comparison, we cannot provide whether physical performance in SSc is different from healthy control with age and sex match or not. However, the normal values of physical performance in this study may use as an initial information for multidisciplinary approach of an early follow up of functional impairment and planning for further rehabilitation.

Key words: systemic sclerosis, sarcopenia, physical performance

Downloads

Published

2022-10-19

Issue

Section

Original Articles