ระยะเวลารอคอยเพื่อวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปอดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Waiting Times for Diagnosis and Treatment of Lung Cancer in Srinagarind Hospital, Khon Kaen University

Authors

  • ดวงดาว ศรีเรืองรัตน์ นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประภัสรา ศิริกาญจน์ สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ฉลองพล สารทอง หน่วยมะเร็ง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิลาวัลย์ พันธ์โสภา หน่วยคลินิกเฉพาะทางศูนย์บริการทางการแพทย์ชั้นเลิศ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุพจน์ คำสะอาด สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศิริพร คำสะอาด สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อนัฆพงษ์ พันธุ์มณี ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์: ความล่าช้าในการวินิจฉัยและการเริ่มต้นรักษาโรคมะเร็งปอด อาจส่งผลต่อการดำเนินของโรคและการเสียชีวิต โดยเฉพาะผู้ป่วยระยะแพร่กระจาย ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลารอคอยการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปอด ระยะที่ 4

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ใช้ข้อมูลของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2560 ถึง 2561 ของผู้ป่วยมะเร็งปอด ระยะที่ 4 จำนวน 268 ราย ระยะเวลารอคอยนำเสนอโดยมัธยฐานและช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะที่ 4 จากฐานข้อมูลทั้งสิ้น 378 ราย มีข้อมูลครบถ้วนที่นำมาศึกษา 268 ราย โดยผู้ป่วยดังกล่าวที่เข้าสู่กระบวนการเพื่อวินิจฉัยทางเซลล์วิทยาหรือพยาธิวิทยา 232 ราย มีมัธยฐานการรอคอย 28.0 วัน (95%CI: 23.0-33.4 วัน) ระยะเวลาตั้งแต่วันที่รายงานผลพยาธิวิทยาในระบบของโรงพยาบาลจนถึงวันแรกที่ได้รับการรักษาของผู้ป่วย 155 ราย มีมัธยฐานการรอคอย 25.0 วัน (95%CI: 20.8-29.0 วัน) ผู้ป่วย 216 ราย ที่เข้าสู่กระบวนการรักษา นับตั้งแต่วันแรกที่ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลศรีนครินทร์จนถึงวันแรกที่ได้รับการรักษามีมัธยฐานการรอคอย 49.0 วัน (95%CI: 42.1-52.0 วัน) โดยรอคอยการให้ยามุ่งเป้า 62.0 วัน (95%CI: 52.0-70.0 วัน) เคมีบำบัด 49.0 วัน (95%CI: 42.0-54.9 วัน) ปรึกษาทีมดูแลประคับประคอง 48.0 วัน (95%CI: 21.1-74.4 วัน) ฉายรังสี 38.0 วัน (95%CI: 26.0-51.9 วัน) และผ่าตัด 14.0 วัน (95%CI: 1.9-59.7 วัน)

สรุป: ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามมีมัธยฐานการรอคอยวินิจฉัย 28 วัน มัธยฐานการรอคอย 49 วัน ก่อนได้รับการรักษา โดยมีการรอคอยการใช้ยามุ่งเป้ารักษานานที่สุด

คำสำคัญ: ระยะเวลารอคอย, มะเร็งปอด, การวินิจฉัยและรักษา

 

Background and Objective: Delay in diagnosis and treatment initiation of lung cancer could affect disease progression and patient mortality, especially the patients with metastatic lung cancer. Thus, this study aimed to determine the waiting time for diagnosis and treatment in patients with stage 4 lung cancer.

Methods: This was a descriptive study that conducted the data of 268 patients with stage 4 lung cancer from the database of Srinagarind hospital between 2017 and 2018. The waiting times were reported by median with 95% confidence interval.

Results: A total of 378 stage 4 lung cancer patients were enrolled in the database. There were 268 cases with complete data that were included in the study. 232 patients were cytological or pathological diagnosed that found the median waiting time for diagnosis was 28.0 days (95%CI: 23.0-33.4). Of those 155 patients who were period from report date of pathology results to first treatment found 25.0 days (95% CI: 20.8-29.0). There were 216 patients who were received the treatment found 49.0 days (95%CI: 42.1-52.0); targeted therapy 62.0 days (95%CI: 52.0-70.0), chemotherapy 49.0 days (95%CI: 42.0-54.9) consult the palliative care team 48.0 days (95%CI: 21.1-74.4), radiotherapy 38.0 days (95%CI: 26.0-51.9), and surgery 14.0 days (95%CI: 1.9-59.7).

Conclusions: Patients with metastatic lung cancer were median waiting time 28.0 days for diagnosis, 49.0 days for treatment. The targeted therapy was the treatment method that had the longest waiting time.

Keywords: Waiting times, Lung Cancer, Diagnosis and Treatment

Downloads

Published

2022-10-19

Issue

Section

Original Articles