การเปรียบเทียบผลลัพธ์การเตรียมความสะอาดลำไส้ก่อนการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักระหว่างผู้ป่วยในกับผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
The Comparison Outcomes Quality of Bowel Preparation before Colonoscopy between In-patients and One-Day Surgery Patients: A Randomized Controlled trial
Abstract
หลักการและวัตถุประสงค์: เพื่อลดความแอดอัดในโรงพยาบาลการเตรียมผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับเพื่อตรวจหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่และทวารหนักจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนา การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลลัพธ์การเตรียมความสะอาดลำไส้ก่อนการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักระหว่างผู้ป่วยในกับผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ
วิธีการศึกษา: รูปแบบการวิจัยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มปกปิด โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจส่องกล้องลำไส้ในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง มิถุนายน 2565 โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นผู้ป่วยใน (In-patient) 35 ราย กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (one-day surgery) 35 ราย โดยผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มตรวจพบเลือดแฝงในอุจจาระ ใช้สถิติเชิงพรรณนาและ สถิติ Chi-square test ในการวิเคราะห์มูลโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p <0.05
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยในส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 65.71 อายุเฉลี่ย 60.25 ปี มีความสะอาดของลำไส้ระดับ Good ร้อยละ 68.57 การตรวจการส่องกล้องลำไส้พบ Polyp ร้อยละ 28.57 Hemorrhoid ร้อยละ 5.71 Diverticulitis ร้อยละ 17.14 Tubular adenoma ร้อยละ 1.28 และ Carcinoma ร้อยละ 2.86 (1 ราย) ผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 60.00 อายุเฉลี่ย 59.22 ปี มีความสะอาดของลำไส้ระดับ Good ร้อยละ 60.00 การตรวจการส่องกล้องลำไส้พบ Polyp ร้อยละ 22.86 Hemorrhoid ร้อยละ 8.57 Diverticulitis ร้อยละ 11.43 Tubular adenoma ร้อยละ 5.71 เมื่อเปรียบเทียบความสะอาดของลำไส้ ระยะเวลาในการส่องกล้อง และผลการตรวจส่องกล้องลำไส้ของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มพบว่าไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05)
สรุป: การศึกษาครั้งนี้พบว่าผลลัพธ์ขอความสะอาดของลำไส้ ระยะเวลาในการส่องกล้อง และผลการตรวจส่องกล้องลำไส้ของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการลดความแออัด ลดวันนอน ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในโรงพยาบาล และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและของโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่ผ่านประเมินของแพทย์และสามารถเตรียมตัวเองได้ที่บ้านควรสนับสนุนการให้ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ
คำสำคัญ: มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่, ผู้ป่วยใน, ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ
Background and Objective: In order to reduce congestion one-day surgical preparation of patients to detection of colorectal abnormalities has to be developed. The purpose of this study was to comparison outcomes of quality of bowel preparation before colonoscopy between Inpatients and one day surgery patients.
Method: The research was a randomized controlled trial. All data collected from patient at Roi Et Hospital between May and June 2022. The study subjects were divided into 2 groups. Group 1 were 35 In-patients, and Group 2 were 35 patients with one-day surgery, of both 2 groups were positive for iFOBT. Descriptive statistics and Chi-square test were used for data analysis. The statistically significance was set at p < 0.05.
Results: In-patients were female 65.71%, mean age 60.25 years, colon cleanliness good level 68.57%, colonoscopy found Polyp 28.57%, Hemorrhoid 5.71%, Diverticulitis 17.14%, Tubular adenoma 1.28%, and Carcinoma 2.86% (1 patient). One-day surgery patients were female 60.00%, mean age 59.22 years, colon cleanliness good level 60.00%, colonoscopy found Polyp 22.86 %, Hemorrhoid 8.57%, Diverticulitis 11.43%, Tubular adenoma 5.71%. Comparing outcome of bowel preparation in colon cleanliness, colonoscopy time, and colonoscopy results of both groups were non-statistically significant (p > 0.05).
Conclusion: This study found that colon cleansing, time for colonoscopy, and colonoscopy results in both groups were not difference. Therefore, to reduce congestion, reduce days of admit, reduce the risk of nosocomial infection, saves patient and hospital cost patients who passed physical examination and can prepare themselves at home should encourage them to receive one-day surgery.
Keywords: Colorectal cancer, Colonoscopy, Inpatient, One day surgery