อัตรารอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากหลังการวินิจฉัยที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Survival Rates of Prostate Cancer Patients after Diagnosis in Srinagarind Hospital, Khon Kaen University

Authors

  • อิศเรศ สว่างแจ้ง นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุพจน์ คำสะอาด สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิเชียร ศิริธนะพล ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ฉลองพล สารทอง หน่วยมะเร็ง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

การรายงานอัตรารอดชีพ แต่ยังไม่เป็นปัจจุบัน ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตรารอดชีพผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วิธีการศึกษา: แบบ Retrospective cohort study จากทะเบียนมะเร็งโรงพยาบาลศรีนครินทร์ (พ.ศ.  2556-2560) ติดตามสถานะสุดท้ายถึงปี พ.ศ. 2564  จำนวน 672 ราย วิเคราะห์อัตรารอดชีพโดยวิธี Kaplan-Meier นำเสนอค่ามัธยฐานการรอดชีพและช่วงเชื่อมั่น 95% เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยสถิติ Log rank test

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก 672 ราย ระยะเวลาติดตาม 2,364.7 ราย/ปี เสียชีวิต 379 ราย อัตราเสียชีวิต 16.0 ต่อ 100 คน-ปี (95%CI; 14.5 - 17.7) ค่ามัธยฐานการรอดชีพ 3.87 ปี (95%CI; 3.2 - 4.6) อัตรารอดชีพหลังการวินิจฉัยในระยะเวลา 1, 3, 5 และ 7 ปี ร้อยละ 84.3 (95%CI; 81.3 - 86.9), ร้อยละ 55.2 (95%CI; 51.2 – 59.0), ร้อยละ 45.0 (95%CI; 41.1 - 48.9) และร้อยละ 37.6 (95%CI; 33.2 - 41.9) ตามลำดับ การเปรียบเทียบการรอดชีพระหว่างกลุ่ม พบว่า อายุ ชนิดของพยาธิวิทยา ลักษณะของพยาธิวิทยา ระยะโรค การแพร่กระจายไปกระดูก และการผ่าตัด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)

สรุป: ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้รับการวินิจฉัยในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีอัตรารอดชีพที่สูง โดยเฉพาะระยะ early stage อัตรารอดชีพของผู้ป่วยในระยะเวลา 7 ปี สูงถึงร้อยละ 78.3 การตรวจคัดกรองและการรักษาในระยะแรกของโรคจะช่วยให้ผู้ป่วยมีระยะรอดชีพที่ยาวนานและหายขาดได้

คำสำคัญ: มะเร็งต่อมลูกหมาก, อัตรารอดชีพ, ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล

 

Background and objective: Prostate cancer (PC) is the most common cancer in men. Previous studies have reported survival rates of PC but haven’t updated. This study aimed to determine the survival rate of PC patients who treated at Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University which is a tertiary hospital in the Northeast region of Thailand.

Methods: A retrospective cohort study was conducted. Data were retrieved from the Srinagarind hospital-based cancer registry (2013-2017) and followed up until 2019 of 672 cases. The survival rate was estimated using the Kaplan-Meier method. We reported the median survival time and the 95% confidence interval (CI). A comparison group was used to estimate the survival rate using the Log-rank test.

Result: Of 627 PC patients, a case-fatality rate of 16.0 per 100 person-years (95%CI; 14.5 - 17.7). The median survival time was 3.87 years (95%CI; 3.2 - 4.6). The respective overall survival experience rate after diagnosis at 1, 3, 5 and 7 years were 84.3 (95%CI; 81.3 - 86.9), 55.2 (95%CI; 51.2 – 59.0), 45.0 (95%CI; 41.1 - 48.9) and 37.6 (95%CI; 33.2 - 41.9) respectively. Comparing survival rate, age histological grading staging bone metastasis and surgery were different in survival between the two groups by statistically significantly. (p < 0.05)

 Conclusion: The survival rate of PC after diagnosis in Srinagarind Hospital was high. By early stage, the survival rate of patients over 7 years was 78.3%. Therefore, early detection screening is needed to improve survival rates and cured the disease.

Keyword : prostate cancer, survival rate, hospital-based cancer registry

 

Downloads

Published

2022-10-20

Issue

Section

Original Articles