ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพระหว่างสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย

Factors Predicting Quality of Work Life Perceived by Registered Nurses during the Coronavirus Pandemic 2019 in Srinagarin Hospital, Khon Kaen Province, Thailand

Authors

  • นิตยา ปานเพชร นักศึกษาปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิจัยและบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อภิญญา จำปามูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์: การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการรับรู้คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล 2) การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 และ3) ความสามารถร่วมกันพยากรณ์ของปัจจัยส่วนบุคคล การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19  และการบริหารอัตรากำลังกับคุณภาพชีวิตการทำงานตามการรับรู้ของพยาบาล

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 213 ราย  คัดเลือกโดยการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน 2565 แบบสอบถามประกอบด้วย 1) การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 2) คุณภาพชีวิตการทำงานตามการรับรู้ของพยาบาล ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้ค่า CVI .94 และ .90 ตามลำดับ หาความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาได้ .89, .96 เก็บรวบรวมข้อมูลออนไลน์ สแกนผ่าน QR code วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษา:   คุณภาพชีวิตการทำงานตามการรับรู้ของพยาบาล อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 4.04 ± 0.89 การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.63 ± 0.65 ประสบการณ์การทำงาน จำนวนเวรเฉลี่ย และการปฏิบัติตามมาตรการ ร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานได้ร้อยละ 21.50 ในทิศทางบวก

สรุป:  ประสบการณ์ทำงาน  การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19  การจัดเวรที่เหมาะสม ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล

คำสำคัญ: คุณภาพชีวิตการทำงาน, การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19, การบริหารอัตรากำลังพยาบาล, พยาบาลวิชาชีพ

 

Background and objectives: The COVID-19 pandemic have affected the quality of work life perceived by Registered Nurses (RNs). The objectives of this research were to study: (1) the quality of work life perceived by RNs. (2) the compliance with COVID-19 prevention measures. and (3) the predictive ability of personal factors, the compliance with COVID-19 prevention measures, nurse staffing, on quality of work life perceived by RNs.

Methods: This study was a predictive correlation study. The samples were RNs of  Srinakarin Hospital, 213 people were selected by simple random sampling. Data were collected from April-June, 2022.The questionnaire consists of 1) the practice of preventive measures against COVID-19 and 2) quality of work life perceived by RNs. The questionnaires were CVI yielded .94, 0.90 respectively. Reliability testings were done and reported as α- coefficient of .89 and .96. Using an online method via scanning QR code. Obtained data were analyzed by using descriptive statistics and multiple regression analysis.

Results: The quality of work life perceived by RNs were at a high level mean 4.04 ± 0.89. Overall, the compliance with COVID-19 prevention measures  was at a high level mean 4.63 ± 0.65. Using regression analysis, personal factors (work experience, average number of work shifts) and the compliance with COVID-19 prevention measures together predicted 21.50% of the variance in quality of working life in positive direction.

Conclusion: Working experience, the compliance with COVID-19 prevention measures and appropriate number of work shifts could promote RNs’ quality of working life.

Keywords: quality of work life perceived, compliance with COVID-19 prevention measures, nurse staffing, registered nurses

Downloads

Published

2022-10-20

Issue

Section

Original Articles