การแปลและตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบวัดความพึงพอใจต่อการดูแลแบบประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อมในวาระสุดท้ายของชีวิต

Translation and Reliability Testing of the Instrument Satisfaction with Palliative Care for Patients with End-of-Life Dementia

Authors

  • รัตนาภรณ์ ศิริเกต หน่วยการพยาบาลประคับประคอง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปาริชาติ เพียสุพรรณ์ หน่วยการพยาบาลประคับประคอง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อรรถกร รักษาสัตย์ ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์:บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการแปลและตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบวัดความพึงพอใจต่อการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อมในวาระสุดท้ายของชีวิต ฉบับภาษาอังกฤษ ชื่อ Satisfaction with Palliative Care for Patients with End-of-Life Dementia (SWC-EOLD) ของ Ladislan Volicer เป็นฉบับภาษาไทย 10 ข้อ

วิธีการศึกษา: ในการแปลนี้ผู้วิจัยเลือกใช้เทคนิคการแปลแบบย้อนกลับและทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่พูดได้ เฉพาะภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลของผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะท้ายที่เสียชีวิตแล้ว ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นระหว่างวันที่1 มกราคม 2563- 31 ธันวาคม 2563  กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 30 ราย

ผลการศึกษา: พบว่า แบบวัดฉบับภาษาไทยมีกระบวนการแปลที่มีความทัดเทียมด้านภาษา เนื้อหา และความหมายเทียบเท่ากับชุดต้นฉบับภาษาต่างประเทศ และตรวจสอบความเที่ยงเชิงความสอดคล้องภายใน พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.711และแต่ละข้อย่อยอยู่ระหว่าง 0.644 - 0.742 ที่ระดับนัยสำคัญ .05

สรุป:   แบบสอบถามมีความน่าเชื่อถือและและนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างได้             

 คำสำคัญ : การแปลเครื่องมือ,  แบบวัดความพึงพอใจต่อการดูแลแบบประคับประคอง, ผู้ป่วยสมองเสื่อมในวาระสุดท้ายของชีวิต, ความเที่ยงตรงของเครื่องมือ

 

Background and objective:        This paper to describe  translation and reliability of the  Thai version of the Satisfaction with Palliative Care for Patients with End-of-Life Dementia (SWC-EOLD).

Methods: The authors use the back- translation technique and tested with a sample who can only speak Thai. The sample was recruited 30  caregiver of patient with late stage dementia in Muang District, Khon Kaen Province between January 1, 2020 - December 31, 2020.

Results: The results revealed that Thai version  is the equivalence to the language content and semantic to the original  version.  Chrobach alphas of  Thai version is 0.711 and  each dimension range  from  0.644 - 0.742 at a significant level .05

Conclusion: The questionnaire is reliable and applicable to the sample population.

Keyword: translation methodology, the satisfaction with palliative care thai version, end-of-life dementia reliability of the instrument

Downloads

Published

2022-10-20

Issue

Section

Original Articles