ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของความเครียดในสตรีตั้งครรภ์

Authors

  • พัดชา ตัณฑพานิช สาขาวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จตุพร ดวงกำ สาขาวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กุศลาภรณ์ ชัยอุดมสม สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เจศฎา ถิ่นคารพ สาขาวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รัตนา คำวิลัยศักดิ์ สาขาวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พิมพ์วิมล เวียงยศ สาขาวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์: สมาคมสูตินรีแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา (ACOG) ให้คำแนะนำตรวจคัดกรองความเครียดในสตรีตั้งครรภ์ทุกคน สำหรับประเทศไทยนั้นมีการใช้แบบประเมินเอสทีไฟฟ์ (ST-5) ในการประเมินความเครียดสำหรับประชาชนทั่วไป อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาที่แสดงความเที่ยงและความเชื่อถือได้ของแบบประเมิน ST-5 นี้ เมื่อนำมาใช้กับสตรีตั้งครรภ์ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาความชุกของความเครียดในสตรีตั้งครรภ์และวัตถุประสงค์รองเพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในสตรีตั้งครรภ์ และวัดความเที่ยงและความสอดคล้องของแบบประเมิน ST-5 เทียบกับ Thai GHQ-28

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบตัดขวางที่ห้องฝากครรภ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และเข้าร่วมงานวิจัยจะได้รับการทำแบบประเมิน ST-5 และ Thai GHQ-28 ด้วยตนเองการแปลผลหากคะแนนรวมมากกว่า 4 คะแนนของแบบประเมิน ST-5 หรือมากกว่า 5 คะแนนของแบบประเมิน Thai GHQ-28 ถือว่ามีความเครียด

ผลการศึกษา: พบว่าสตรีตั้งครรภ์จำนวน 351 ราย มีความชุกของความเครียดโดยใช้แบบประเมิน Thai GHQ-28 เท่ากับร้อยละ 13.64 แบบประเมิน ST-5 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบัค 0.824 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน 0.426 (95%CI 0.337-0.508, p <0.001) เมื่อเทียบกับแบบประเมิน Thai GHQ-28  ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มความเครียดขณะตั้งครรภ์ได้แก่ มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ขณะตั้งครรภ์ ประวัติดื่มแอลกอฮอล์ และมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคทางจิตเวช โดยมีค่า Adjusted OR เท่ากับ 2.51 (95%CI 1.04-6.08; p = 0.040), 2.90 (95%CI 1.34-6.28; p = 0.007) และ 12.19 (95%CI 2.10-70.75; p = 0.005) เมื่อเทียบกับกลุ่มไม่มีปัจจัยเสี่ยงตามลำดับ

สรุป: ความชุกของความเครียดในสตรีตั้งครรภ์โดยใช้แบบประเมิน Thai GHQ-28 เท่ากับร้อยละ 13.64 แบบประเมินความเครียด ST-5 มีความสอดคล้องน้อยเมื่อเทียบกับแบบประเมิน Thai GHQ-28 ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มความเครียดขณะตั้งครรภ์ได้แก่ มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ขณะตั้งครรภ์ ประวัติดื่มแอลกอฮอล์ และมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคทางจิตเวช

Prevalence and Associated Factors of Stress in Pregnancy

Phatcha Tontapanit¹, Chatuporn Duangkum¹*, Kusalaporn Chaiudomsom², Jadsada Thinkhamrop¹, Ratana Komwilaisak¹, Pimwimon Wiangyos¹

¹ Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

² Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Background and Objective: The American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) recommended to screen psychosocial stress during pregnancy. In Thailand, the ST-5 self-reported screening stress questionnaire was  widely used in the general population because of simple to understand and easy to complete. However, no previous study had assessed the reliability and validity of the ST-5 questionnaire when used with pregnancy. The primary objective of this study was to establish the prevalence of stress in pregnancy. The secondary objectives were to evaluate the associated factors of stress and investigate the correlation between the ST-5 and Thai GHQ-28 questionnaires.

Materials and Methods: The cross-sectional study was conducted at Srinagarind Hospital, Khon Kaen University. The ST-5 and Thai GHQ-28 questionnaires were completed by pregnant women. Total scores greater than 4 of ST-5 questionnaires  and more than 5 of Thai GHQ-28 questionnaires were considered for screening stress positive. 

Results: Three hundred and fifty-one pregnancies were recruited. The prevalence of stress using the Thai GHQ-28 questionnaire was 13.64%. The ST-5 questionnaire showed good internal consistency with Cronbach’s alpha (α) 0.824 but low convergent validity compared with the Thai GHQ-28 questionnaire, rs 0.426 (95%CI 0.337-0.508, p < 0.001). Factors including a history of obstetric complications comorbidity, alcohol consumption and the occurrence of family members with psychiatric disorders significantly increased stress with adjusted OR 2.51 (95%CI 1.04-6.08, p = 0.040), 2.90 (95%CI 1.34-6.28, p = 0.007) and 12.19 (95%CI 2.10-70.75, p = 0.005), respectively.

Conclusion: Prevalence of stress in pregnancy was 13.64%. The ST-5 questionnaire gave a low correlation with the Thai GHQ-28 questionnaire. History of obstetric complication comorbidities, alcohol consumption or family members with psychiatric disorders were significantly increased risk of stress.

Downloads

Published

2022-12-27

Issue

Section

Original Articles