ต้นทุน-ผลลัพธ์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

Cost-Outcome of Cervical Cancer Screening at Somdejphrajaotaksinmaharaj Hospital

Authors

  • ชัยกิจ อุดแน่น กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์: อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สามารถพบได้บ่อยในสตรีทุกวัย ทว่าในปัจจุบันมีเพียงการศึกษาความคุ้มค่าการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แต่ยังไม่มีการศึกษาต้นทุน-ผลลัพธ์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในเชิงพื้นที่ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุน-ผลลัพธ์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เน้นการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลลัพธ์ในมุมมองของผู้ให้บริการ ชนิด partially economic evaluation เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนในระบบ HosXp ของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปีงบประมาณ 2562 – 2564 สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความไวของตัวแปรทางเดียว

ผลการศึกษา: มีผู้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 3,078 ราย มีอายุเฉลี่ย 41±14.68 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส จำนวน 1,902 ราย (ร้อยละ 61.80) สิทธิการรักษาเป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UC) จำนวน 2,978 ราย (ร้อยละ 96.75) และเข้าร่วมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสมัครใจจำนวน 1,711 ราย (ร้อยละ 55.59) นอกจากนี้ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกยังพบความผิดปกติของเซลล์ จำนวน 92 ราย (ร้อยละ 2.81) แบ่งเป็นจากวิธี conventional pap smear จำนวน 86 ราย และจากวิธี HPV DNA test จำนวน 6 ราย โดยมีการตรวจพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1 จำนวน 8 ราย และระยะที่ 2 จำนวน 1 ราย ทั้งนี้ ต้นทุนทั้งหมดของการเข้ารับการบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในระยะเวลา 3 ปี มีค่าเท่ากับ 1,094,960 บาท (เฉลี่ย 355.73 บาท/คน/ครั้ง) และต้นทุนเฉลี่ยของการคัดกรองต่อการพบมะเร็งปากมดลูก จำนวน 1 ราย เท่ากับ 121,663 บาท

สรุป: การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกยังมีความสำคัญอย่างมาก ถ้าหากมีการส่งเสริมการคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในระดับพื้นที่ ย่อมสามารถลดต้นทุนในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในอนาคตได้

Background and Objective: The incidence of cervical cancer tends to increase and can be found more often in women of all ages. At present, there are only studies on the value of cervical cancer screening. However, the cost-outcome of cervical cancer screening has not been studied in spatial context. This study aimed to the cost-outcome of cervical cancer screening at Somdejphrajaotaksinmaharaj Hospital.

Method: This study was the descriptive study focusing on cost - outcome analysis from the service provider perspective (partially economic evaluation). Data were collected from medical records in the HosXp system of samples who were cervical cancer screen at Somdejphrajaotaksinmaharaj Hospital, fiscal year 2019 – 2021. The statistics used in the research were descriptive statistics and one-way sensitivity analysis.

Results: A total of 3,078 people were cervical cancer screening, the mean age was 41±14.68 years and the most of samples were 1,902 had marital status (61.80 %), 2,978 had eligible Universal Coverage (UC) (96.75 %), 1,711 had voluntarily participated in cervical cancer screening (55.59 %). The cervical cancer screening also revealed cell abnormalities in 92 cases (2.81 %), divided into 86 cases by conventional pap smear and 6 cases by HPV DNA Test. In addition, discovered 8 patients with cervical cancer stage I and 1 patient with cervical cancer stage II. The total cost of cervical cancer screening in 3 years was 1,094,960 baht (average 355.73 baht/person/time) and the average cost of cervical cancer screening per one case was 121,663 Baht.

Conclusions: However, cervical cancer screening was very important, if promoting screening to find new cases at the spatial level can reduce the cost of treating cervical cancer patients in the future.

Downloads

Published

2022-12-27

Issue

Section

Original Articles