การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ป่วยโรค COVID-19

Pulmonary Rehabilitation for Patient with COVID-19

Authors

  • ตุลยชาติ โคตรโสภา อนุสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตระบบการหายใจ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วรวัฒน์ จำปาเงิน อนุสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตระบบการหายใจ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

บทคัดย่อ

            COVID-19 เกิดจากการติดเชื้อ SAR-CoV-2 ทำให้เกิดการอักเสบรุนแรงทั้งในระบบหายใจและทั่วร่างกายโดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเสี่ยง ก่อให้เกิดการนอนโรงพยาบาลนานและต้องรักษาด้วยการพยุงอวัยวะ เช่น การบำบัดด้วยออกซิเจน เป็นต้น ซึ่งในประเทศไทยมีข้อจำกัดด้านทรัพยากร นอกจากนี้ผู้ป่วย COVID-19 อาจจะมีภาวะหลังการเป็น COVID-19 โดยที่มีอาการหลงเหลืออยู่แม้ว่าจะหายจากการติดเชื้อเฉียบพลันแล้ว การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเป็นการดูแลโดยสหสาขาวิชาชีพและดูแลอย่างครอบคลุม โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคปอดเรื้อรังสามารถดูแลตัวเองได้ มีหลักฐานเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดให้ผลดีในโรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดลมโป่ง และโรคพังผืดในปอด อย่างไรก็ตามข้อมูลการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วย COVID-19 ยังมีอย่างจำกัด โดยทั่วไปแนวทางเวชปฏิบัติระดับประเทศได้แนะนำให้ทำการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วย COVID-19 ทั้งนี้ควรพิจารณาการควบคุมการติดเชื้อ การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วย COVID-19 มีผลข้างเคียงต่ำจึงสามารถทำได้อย่างปลอดภัยทั้งในช่วงติดเชื้อเฉียบพลันระหว่างอยู่ในโรงพยาบาลและภายหลังการติดเชื้อเพื่อลดอาการจากภาวะหลังการเป็น COVID-19

 คำสำคัญ: การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด, โรค COVID-19, ภาวะหลังเป็น COVID-19

 

Abstract

COVID-19 is resulted from SAR-CoV-2 infection which cause serious pulmonological and systemic inflammation particularly among at-risk population, leading to prolonged hospitalization and requirement for organ support such oxygen therapy. In Thailand, health resource has been limited, Moreover, patients with COVID-19 probably have post-COVID-19 syndrome regarding presence of symptom after resolution from acute infection. Pulmonary rehabilitation is multidisciplinary and comprehensive approach aiming to enhance self-management ability for patients who suffering from respiratory disease. Current evidences demonstrate that pulmonary rehabilitation provide various clinical benefit in chronic respiratory disease such as chronic obstructive pulmonary disease, bronchiectasis and pulmonary fibrosis. Nevertheless, evidence pulmonary rehabilitation in COVID-19 is still sparse. National practice guidelines generally recommend pulmonary rehabilitation in COVID-19 based on previous available data from chronic respiratory disease and infectious control should be considered. Pulmonary rehabilitation provide minimal risk thus can be safely executed in hospital setting for acute infection and long-term approach to reduce post-COVID-19 symptom.       

 Keyword: pulmonary rehabilitation, COVID-19, post-COVID-19 syndrome

Published

2022-12-27

Issue

Section

Review Article