ประสิทธิผลของการรักษาโรคหัวใจล้มเหลวชนิดกล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลงด้วยยา Angiotensin Receptor Blocker/Neprilysin inhibitor ในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

Authors

  • พงศธร พัชระสุภา ศูนย์โรคหัวใจ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

Abstract

Effectiveness of Angiotensin Receptor Blocker/Neprilysin Inhibitor in Heart Failure with Reduced Ejection Fraction Patients at Somdejphrajaotaksin Maharaj Hospital

Phongsathon Pacharasupa

Cardiac Center, Department of Internal Medicine, Somdejphrajaotaksin Maharaj Hospital

หลักการและวัตถุประสงค์: เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยโรค heart failure with reduced ejection fraction (HFrEF) ในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี และได้เริ่มมีการใช้ยา angiotensin receptor blocker/neprilysin inhibitor (ARNI) ใน HF clinic จากงานวิจัยในต่างประเทศที่ผ่านมาพบว่ายา ARNI ช่วยให้อาการของโรค HFrEF ดีขึ้นด้วยหลายกลไก (เพิ่มการขับโซเดียมออกทางปัสสาวะ หลอดเลือดขยาย ต้านการเจริญของเซลล์และมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของหัวใจ) ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของยา ARNI ในผู้ป่วยโรค HFrEF ในเวชปฏิบัติจริงในประเทศไทย ผลทางคลินิกหลัก คือ improvement of left ventricular ejection fraction (LVEF), ผลทางคลินิกรอง คือ improvement of cardiac size (LA size, LVIDd) และ New York Heart Association Functional Classification (NYHA)

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษากึ่งทดลองกลุ่มเดียว (quasiexperiment one group pre-posttest study design)โดยเก็บข้อมูล (ข้อมูลทางกายภาพเฉพาะบุคคล, NYHA, โรคประจำตัว, ยาที่ใช้รักษาโรคหัวใจล้มเหลว ระยะเวลาที่เปลี่ยนมาใช้ยา ARNI สัญญาณชีพ ระดับโพแทสเซียมในเลือด, serum creatinine, eGFR, ผลตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง) ในผู้ป่วยโรค HFrEF ที่ได้รับยา ARNI ใน HF clinic ตั้งแต่ 1 กันยายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2564 โดยเก็บข้อมูลจนครบ 12 เดือน

ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัย 35 ราย (อายุเฉลี่ย 66.20 ±0.44 ปี), เพศชาย 26 ราย (ร้อยละ 74.3), ค่า mean LVEF (เมื่อเริ่มต้นรักษา, หลังได้รับยา ARNI ที่ 3 และ 12 เดือน) ร้อยละ 29.81 ±9.48, 48.05 ±9.80 และ49.58 ±9.32 ตามลำดับ, mean LVEF change (เมื่อเริ่มต้นรักษากับหลังได้รับยา ARNI ที่ 3, เมื่อเริ่มต้นรักษากับหลังได้รับยา ARNI ที่ 12 เดือน และหลังได้รับยา ARNI ที่ 3 กับ 12 เดือน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.25 (p<0.001), 19.77 (p<0.001) และ 1.52 (p=0.011) ตามลำดับ, ค่า cardiac size ลดลงดังนี้ ค่า mean LA size (เมื่อเริ่มต้นรักษา, หลังได้รับยา ARNI ที่ 3 และ 12 เดือน) 4.28 ±0.71 ซม., 4.05 ±0.62 ซม. และ 3.98 ±0.60 ซม. ตามลำดับ, mean LA size change (เมื่อเริ่มต้นรักษากับหลังได้รับยา ARNI ที่ 3, เมื่อเริ่มต้นรักษากับหลังได้รับยา ARNI ที่ 12 เดือน และหลังได้รับยา ARNI ที่ 3 กับ 12 เดือน) ลดลง 0.22 ซม. (p<0.001), 0.30 ซม. (p<0.001) และ 0.08 ซม. (p=0.016) ตามลำดับ, ค่า mean LVIDd (เมื่อเริ่มต้นรักษา, หลังได้รับยา ARNI ที่ 3 และ 12 เดือน) 5.72 ±0.66 ซม., 5.52 ±0.61 ซม. และ 5.35 ±0.58 ซม. ตามลำดับ, mean LVIDd change (เมื่อเริ่มต้นรักษากับหลังได้รับยา ARNI ที่ 3, เมื่อเริ่มต้นรักษากับหลังได้รับยา ARNI ที่ 12 เดือน และหลังได้รับยา ARNI ที่ 3 กับ 12 เดือน) ลดลง 0.21 ซม. (p<0.001), 0.37 ซม. (p<0.001) และ 0.16 ซม. (p<0.001) ตามลำดับ, ค่า median NYHA (เมื่อเริ่มต้นรักษา, หลังได้รับยา ARNI ที่ 3 และ 12 เดือน) เท่ากับ 3.00 ±1.00, 2.00 ±1.00 และ 2.00 ±1.00 ตามลำดับ, NYHA (เมื่อเริ่มต้นรักษากับหลังได้รับยา ARNI ที่ 3, เมื่อเริ่มต้นรักษากับหลังได้รับยา ARNI ที่ 12 เดือน) ลดลงเป็น 2.00 ±1.00 (p<0.001), 2.00 ±1.00 (p<0.001) ตามลำดับ, NYHA (หลังได้รับยา ARNI ที่ 3 กับ 12 เดือน) เท่าเดิมคือ 2.00 ±1.00 (p=0.317), ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับโพแทสเซียมในเลือด, ระดับ creatinine ในเลือด, ค่า eGFR และไม่พบภาวะความดันโลหิตต่ำในอาสาสมัคร

สรุป จากการศึกษาผลของยา ARNI ในผู้ป่วยโรค HFrEF พบว่าค่า LVEF และค่า cardiac size (LA size, LVIDd) ดีขึ้นตั้งแต่เดือนที่ 3 และยังดีขึ้นอีกในเดือนที่ 12 หลังรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และค่า NYHA มีแนวโน้มดีขึ้นตั้งแต่เดือนที่ 3 และยังดีอยู่จนถึงเดือนที่ 12 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในการศึกษา

Abstract

Background and objectives: Due to patients with HFrEF had increased tendency in Somdejphrajaotaksin Maharaj Hospital annually, and they were started ARNI treatment in HF clinic. Many abroad studies shown benefits of ARNI for improve symptoms in patients with HFrEF by many mechanisms (increase urine sodium excretion, vasodilatation, anti-proliferative effect and reverse cardiac remodeling). So, this study aimed to study the effectiveness and adverse events of ARNI in HFrEF patients at HF clinic in Thai practice, primary outcome is improvement of left ventricular ejection fraction (LVEF). Secondary outcomes are improvements of cardiac size (LA size, LVIDd)  and New York Heart Association Functional Classification (NYHA).

Methods: The quasiexperiment one group pre-posttest study was conducted to collect data (anthropometric data, NYHA, underlying diseases, guideline-directed therapy drugs, duration to change ARNI, vital signs, serum potassium, serum creatinine, eGFR, echocardiographic parameters) from patients with HFrEF who attended in HF clinic at Somdejphrajaotaksin Maharaj Hospital from September 1, 2020 to August 31, 2021 for a period of 12 months.

Result: A total of 35 patients (26 male, 74.3 %), mean age 66.20 ±0.44 years, were included. Mean LVEF (baseline, 3rd ARNI mo, 12th ARNI mo) were 29.81 ±9.48 %, 48.05 ±9.80 %, 49.58 ±9.32 %, respectively. From baseline to 3rd ARNI mo, baseline to 12th ARNI mo, and from 3rd to 12th ARNI mo, mean LVEF change increased 18.25 % (p<0.001), 19.77 % (p<0.001) and 1.52 % (p=0.011) respectively. The cardiac size (LA size, LVIDd). Mean LA size (baseline, 3rd ARNI mo,12th ARNI mo) were 4.28 ±0.71 cm, 4.05 ±0.62 cm, 3.98 ±0.60 cm, respectively. From baseline to 3rd ARNI mo, baseline to 12th ARNI mo, and from 3rd to 12th ARNI mo, mean LA size change decreased 0.22 cm (p<0.001), 0.30 cm (p<0.001) and 0.08 cm (p=0.016), respectively. Mean LVIDd (baseline, 3rd ARNI mo, 12th ARNI mo) were 5.72 ±0.66 cm, 5.52 ±0.61 cm, 5.35 ±0.58 cm, respectively. From baseline to 3rd ARNI mo, baseline to 12th ARNI mo, and from 3rd to 12th ARNI mo, mean LVIDd change decreased 0.21 cm (p<0.001), 0.37 cm (p<0.001) and 0.16 cm (p<0.001), respectively. Median NYHA (baseline, 3rd ARNI mo, and 12th ARNI mo) were 3.00 ±1.00, 2.00 ±1.00, 2.00 ±1.00, respectively. From baseline to 3rd ARNI mo, baseline to 12th ARNI mo, and from 3rd to 12th ARNI mo, NYHA change were 2.00 ±1.00 (p<0.001), 2.00 ±1.00 (p<0.001), 2.00 ±1.00 (p=0.317) respectively. There were no statistically significant difference in serum potassium level, serum creatinine and eGFR during treatment period and no hypotension was reported in volunteers.

Conclusion: In patients with HFrEF treated with sacubitril-valsartan (ARNI), The cardiac function (LVEF), cardiac size (LA size, LVIDd) and NYHA were improved significantly from the 3rd month until 12th month of ARNI treatment. No adverse event was reported.

Downloads

Published

2023-02-25

Issue

Section

Original Articles