ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการหลงเหลือจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา-19 ของบุคลากรโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

Authors

  • นันทกา สินธุนันท์สกุล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

Abstract

Factors Associated with Residual Symptoms of COVID-19 Virus at Infection among Health Care Personnel Roi Et Hospital

Nantaka Sinthununsakul

Roi Et Hospital

หลักการและวัตถุประสงค์: อาการหลงเหลือหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) มักมีอาการยาวนานต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลานานหลายสัปดาห์หลังจากติดเชื้อ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการหลงเหลือหลังการติดเชื้อ COVID-19 ของบุคลากรโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

 วิธีการศึกษา: รูปแบบการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ดที่ติดเชื้อ COVID-19 ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2564 ถึงเดือนมิถุนายน 2565  จำนวน 770 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ตัวแปรเชิงเดี่ยว การวิเคราะห์แปรพหุถดถอยโลจีสติกโดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ p <0.05

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรโรงพยาบาลร้อยเอ็ดที่ติดเชื้อ COVID-19 จำนวน 770 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 76.36 อายุเฉลี่ย 37.13±9.09 ปี มีอาการทางคลินิกในขณะที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มีอาการไอร้อยละ 81.28 เจ็บคอร้อยละ 80.05 ไข้ร้อยละ 67.03 มีน้ำมูกร้อยละ 61.19 มีผู้ที่มีอาการหลงเหลือหลังติดเชื้อ COVID-19 มี 603 รายอาการผิดปกติที่หลงเหลือส่วนใหญ่ ได้แก่ อาการเหนื่อยล้าร้อยละ 81.92 อาการไอ ร้อยละ 41.29 หายใจไม่อิ่มร้อยละ 40.80 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการหลงเหลือหลังจากการติดเชื้อ COVID-19 ได้แก่เพศชาย (Adj. OR= 2.53; 95%CI: 1.95-4.66) อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี (Adj. OR=2.78 95% CI: 1.64-5.18) ผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 kg/m2 (Adj. OR=2.41; 95%CI: 1.46-4.32) และผู้ที่มีโรคประจำตัวมากกว่า 1 อย่าง (Adj. 1.89; OR= 95%CI: 1.10-4.80) ส่วนปัจจัยด้านอาการทางคลินิกที่ ได้แก่ มีอาการมากกว่า 1 อาการ (Adj. OR= 2.45; 95%CI: 1.11-3.53) อาการไอ (Adj. OR=1.26; 95%CI1.17-2.68) อาการเจ็บคอ (Adj. OR=1.63; 95%CI: 1.06-2.51) และ อาการหายใจไม่อิ่ม (Adj. OR=1.58; 95% CI: 1.01-3.08)

สรุป: จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการหลงเหลือหลังจากการติดเชื้อ COVID-19 ในบุคลากรโรงพยาบาลร้อยเอ็ดที่สำคัญได้แก่ เพศชาย ผู้ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี ภาวะน้ำหนักเกินระดับที่ 1 หรือมากกว่า มีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1 ชนิดโดยเฉพาะผู้ที่มีอาการทางคลินิกอย่างน้อย 1 อาการ มีอาการไอ อาการเจ็บคอ และ อาการหายใจไม่อิ่ม

Background and Objective: The symptoms of post COVID-19 infection often persist for several weeks after infection. The objective of this study was to investigate the factors associated with post symptoms after COVID-19 infection at a among health care personnel Roi Et hospital.

Methods: This study was cross-sectional analytical study. Data were collected from 770 staffs of Roi Et Hospital who were infected with COVID-19 between July 2021 and June 2022. Data were analyzed using descriptive statistics, univariate analysis and multiple logistic regressions. The statistically significant was set at p<0.05.

Results: Of 770 stuffs were infected with COVID-19, most of them (76.36%) were female mean age was 37.13± 9.09 years. Most of the clinical symptoms at the time of infection were coughing 81.28 %, sore throat 80.05%, fever 67.03% and runny nose 61.19%. There were 603 stuffs with residual symptoms after COVID-19 infection. The majority symptoms were fatigue 81.92%, coughing 41.29%, dyspnea 40.80%. Factors associated with long COVID-19 infection were male (Adj. OR= 2.53; 95%CI: 1.95-4.66), age > 50 (Adj. OR=2.78 95% CI: 1.64-5.18) Body Mass Index > 30 kg/m2 (Adj. OR=2.41; 95%CI: 1.46-4.32), underlying disease more than one (Adj. OR=1.89; 95% CI: 1.10-4.80). The clinical factor more than one symptom (Adj. OR= 2.45; 95%CI: 1.11-3.53), cough (Adj. OR=1.26; 95%CI1.17- 2.68), sore throat (Adj. OR=1.63; 95%CI: 1.06-2.51), and dyspnea (Adj. OR=1.58; 95% CI: 1.01-3.08).

Conclusion: This study found that the factors associated with long COVID-19 infection among staffs of Roi Et hospital were male, age > 50 years, overweight class 1 or more, had at least one underlying disease, especially those had at least one clinical symptom and who had cough, sore throat, and dyspnea.

Downloads

Published

2023-02-25

Issue

Section

Original Articles