ความพึงพอใจและภาพลักษณ์ใบหน้าของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ช่วงอายุ 16-20 ปี

Authors

  • สุธีรา ประดับวงษ์ ศูนย์วิจัยผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศรีษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พลากร สุรกุลประภา สาขาวิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กมลวรรณ เจนวิถีสุข สาขาวิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พูนศักดิ์ ภิเศก สาขาวิชาทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น Department of Surgery, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Abstract

Satisfaction and Nasolabial Appearance of Patients with Cleft Lip and Cleft Palate Aged 16-20 Years

Suteera Pradubwong1*, Palakorn Surakunprapha2, Kamonwan Jenwitheesuk2, Poonsak Pisek3, Bowornsilp Chowchuen2

 1 The research Center of Cleft Lip-Cleft Palate and Craniofacial Deformities, Khon Kaen University

2 Department of Surgery, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

3 Department of Preventive Dentistry, Khon Kaen University

หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ใบหน้าของผู้ป่วย โดยเฉพาะในช่วงวัย 16-20 ปี การประเมินความพึงพอใจและภาพลักษณ์ใบหน้าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบภาคตัดขวาง ในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาอย่างต่อเนื่องกับศูนย์ตะวันฉาย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 32 ราย เครื่องมือ คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และความพึงพอใจ 5 ด้าน จำนวน 41 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ independent T-test

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 59.37 อายุเฉลี่ย 18.33 ปี มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ข้างเดียวร้อยละ 68.75 ได้รับการผ่าตัดปลูกกระดูกสันเหงือกร้อยละ 81.25 ส่วนความพึงพอใจ 5 ด้าน ได้แก่ 1) การรักษาพยาบาล 2) การบริการ  3) ค่ารักษาพยาบาล  4) ด้านจิตสังคม พบว่า ผู้ป่วยมีความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก 4.17±0.74, 4.47±0.59, 3.57±0.80, 3.67±0.85 ตามลำดับ และ 5) ด้านผลกระทบต่อครอบครัว พบว่า มีผลกระทบโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศชายและหญิงพบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจด้านการรักษาพยาบาลและโดยรวมของเพศหญิงสูงกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95 CI = -5.64-0.28, p = 0.03)

สรุป: การประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย ใน 5 ด้าน โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และผลกระทบต่อครอบครัวอยู่ในระดับน้อย เพศหญิงมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมสูงกว่าเพศชาย การพัฒนาคุณภาพการดูแลอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็นของทีมสหสาขา และกระจายโอกาสการเข้าถึงของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุดต่อไป

Background and Objective: Cleft Lip-Palate (CLP) affect quality of life (QoL) of the patients, especially in the age group of 16-20 years, therefore, assessing satisfaction and nasolabial appearance is important.

Materials and Methods: A Cross-sectional study was performed on patients with CLP who continuously underwent surgery with Tawanchai Center. Purposive sampling was used to choose 32 patients. Surveys and 41 of 5-aspect satisfaction questions were used to collect information, then analyzed using percentage, mean, standard deviation, and Independent t-test.

Results: 59.37% of patients were female. All patients had an average age of 18.33 years. 68.75% of the patients have unilateral CLP. 81.25% of the patients received Alveolar Bone Graft surgery. Five of satisfaction aspects were: 1. Medical treatment 2. Service 3. Medical fees 4. Psychosocial, which found that patients’ average satisfaction was at a high level at 4.17±0.74, 4.47±0.59, 3.57±0.80, 3.67±0.85, respectively, and 5. Impact on patient’s family, which found that the overall effect CLP had were minimal, but when comparing the difference of satisfaction between male and female patients, the satisfaction in medical treatment and overall satisfaction level were statistically different. (95 CI = -5.64-0.28, p = 0.03)

Conclusion: Assessment of the patient satisfaction in 5 aspects had a high level, the impacts of CLP had on the families were at a low level. Female patients had a higher average satisfaction than that of their male counterparts. Continual quality of care improvement is necessary to the interdisciplinary team to continue spreading the opportunity to reach as many patients as possible.

Downloads

Published

2023-02-25

Issue

Section

Original Articles